ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สารพัดสูตร บำรุงผิว จากธรรมชาติ ได้ผล 100%


สารพัดสูตร...บำรุงผิวหน้าสวยด้วยธรรมชาติ !!


สูตรขัดหน้านุ่มเนียน

ให้คุณตักโยเกิร์ตรสธรรมชาติมาสัก 2 ช้อนโต๊ะใส่ลงในชาม ใส่น้ำตาลทรายชนิดหยาบลงไป 1 ช้อนชา คนส่วนผสมทั้งสองให้เข้ากันแล้วจึงนำมาขัดเบาๆ ให้ทั่วใบหน้าเพื่อเป็นการขจัดเซลล์เก่าที่ตายแล้วให้หลุดลอกออกไป เว้นรอบดวงตาและรอบปากเอาไว้ เพราะทั้งสองส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่บอบบาง เมื่อขัดสักครู่จนทั่วแล้วก็ให้ทิ้งเอาไว้สัก 5 นาทีก่อนที่จะล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ

สูตรหน้าสวยใส

นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาดและปอกเปลือกออก สไลด์บางๆ เป็นแว่นๆ แช่เย็นไว้สักครู่จึงนำมาแปะที่ใบหน้าเหมือนการแปะแตงกวา หัวไชเท้าเย็นๆ จะทำให้ใบหน้าสดชื่นเย็นสบาย จะรู้ว่าผิวกระจ่างใสขึ้นเพราะในหัวไชเท้ามีกรดอ่อนๆ ที่ทำให้ผิวดูดีขึ้นได้ ทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 15 นาทีจึงล้างออกด้วยน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดาก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

สูตรลับลดความมัน

ผู้ที่มีผิวหน้ามันสามารถมีผิวหน้าที่นุ่มชุ่มชื้นและไม่มันได้โดยการใช้สับปะรดประมาณ 1 ถ้วย คั้นน้ำและแยกกากออก ใช้สำลีก้อนชุบน้ำสับปะรดมาทาที่ใบหน้าโดยให้เว้นที่บริเวณรอบดวงตาและรอบปาก ทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 20 นาทีจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น คุณจะรู้สึกเลยว่าหน้าไม่มันแต่กลับนุ่มชุ่มชื้น ควรใช้สับปะรดที่มีความเปรี้ยวจะดีกว่าที่มีความหวาน เพราะจะมีประสิทธิภาพในการลดความมันได้มากกว่า

สูตรแก้ไขหน้าแห้งกร้าน

สูตรนี้จะช่วยทำให้หน้าที่แห้งกร้านกลับนุ่มชุ่มชื้นและยังช่วยลดความมันอีกด้วย โดยนำน้ำอุ่นประมาณ 1 ถ้วยมาผสมให้เข้ากันดีกับเกลือป่น 2 ช้อนชาจากนั้นนำมาใส่ในขวดสเปรย์แล้วฉีดพรมที่ใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ก่อนจะล้างออกด้วยน้ำสะอาด

สูตรหน้าสะอาดหมดจด

สูตรนี้จะเป็นการกำจัดสิ่งสกปรกบนผิวของคุณออกไปอย่างหมดจด นอกจากผิวจะสะอาดแล้วยังนุ่มนวลและชุ่มชื้นอีกด้วย โดยใช้นมสดสัก 3 ช้อนโต๊ะผสมกับผงชาเขียวป่นที่หาซื้อได้ตามร้านทำขนมมอบทั้งหลาย ผงชาเขียวนี้ใช้เพียงแค่ 1 ช้อนชาเท่านั้น เมื่อผสมกันดีแล้วก็ให้ใช้สำลีก้อนชุบส่วนผสมทั้งสองนี้แล้วนำมาถูให้ทั่วใบหน้าเว้นรอบดวงตาและริมฝีปาก ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น

สูตรหน้าใสไร้ฝ้า

สูตรนี้นอกจากจะสามารถลอกฝ้าได้แล้วังมีผลในการช่วยบรรเทาสิวอักเสบและลบเลือนจุดด่างดำบนใบหน้าได้ด้วย วิธีการก็ง่ายๆ คือตัดว่านหางจระเข้มาสัก 1 กาบไม่ต้องใหญ่มาก ปอกเปลือกออกให้หมดเอาแต่ส่วนของเนื้อใสมาใช้ นำเนื้อใสหรือวุ้นที่ได้มาปั่นเนียนละเอียดแล้วทาให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบดวงตาและริมฝีปากเอาไว้ทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 20 นาทีจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น มีข้อควรระวังคือหากเป้นผู้ที่มีผิวบอบบางหรือแพ้ง่ายไม่ควรใช้สูตรนี้เพราะอาจเกิดการระคายเคืองได้

สูตรลบเลือนจุดด่างดำ

สูตรนี้จะทำให้ใบหน้าสวยใสขึ้นเพราะจุดด่างดำจะลบเลือนลงและยังช่วยให้หน้านุ่มชุ่มชื้นไม่แห้งกร้านอีกด้วย โดยนำส้มมาคั้นให้ได้น้ำประมาณ 2 ช้อนโต๊ะจากนั้นใส่นมสดผสมลงไป 1 ช้อนโต๊ะ คนจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดีแล้วจึงนำสำลีก้อนมาชุบและถูให้ถั่วไปหน้าเบาๆ เว้นบริเวณรอบดวงตาและปากเหมือนเดิมทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 20 นาทีจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ

สูตรผลัดผิวกระจ่างใส

สูตรนี้ทำได้ง่ายอีกเช่นกัน โดยการใช้เพียงมะละกอสุกอย่างเดียว ให้นำมะละกอสุกประมาณ 1/4 ถ้วยมาปั่นให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งเอาไว้ประมาณ 15 นาทีจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด คุณจะรู้สึกเลย
ว่าผิวหน้าใสและนุ่มนวลขึ้น

สูตรแก้ไขผิวที่ถูกแดดและลมเป็นเวลานานๆ

บางทีเราก็หลีกเลี่ยงแดดและลมที่ทำให้ผิวเกิดปัญหาความหยาบกร้านและเหี่ยวย่นไม่ได้ เมื่อเป็นแล้วก็ไม่ต้องกังวลอะไรมากเพราะมีวิธีง่ายๆ และดีที่สามารถแก้ปัญหาอย่างได้ผลมาฝาก ให้นำสตรอเบอร์รี่ 2 ผลและแอปเปิล ¼ ผลมาปั่นให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน แอปเปิล นั้นควรปอกเปลือกออกก่อนเพื่อจะได้มีความนุ่มนวลเวลาที่ใช้ จากนั้นนำส่วนผสมที่ปั่นกันจนละเอียดแล้วมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบดวงตาและริมฝีปากเอาไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

สูตรมากส์หน้าเพื่อความชุ่มชื้น

สูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวแห้งและผู้ที่ไม่มีปัญหาอย่างคนผิวธรรมดาก็สามารถใช้ได้เช่นกัน นำงา 1 ช้อนชา น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และกล้วยหอมผลขนาดกลางสัก 1 ผลมาผสมและปั่นรวมกันให้เป็นเนื้อเนียนละเอียด จากนั้นนำมาพอกให้ทั่วบริเวณใบหน้าและทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เว้นบริเวณรอบดวงตาและปากเอาไว้ เมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ

สูตรมากส์หน้าแก้ไขปัญหาหน้ากร้านแดด

หน้ากร้านแดดที่ว่านี้ก็คือหน้าที่มีอาการแดงแสบและหยาบกร้าน นอกจากนี้ผิวหน้ายังไม่นุ่มชุ่มชื้นอีกด้วย วิธีการแก้ไขก็คือให้นำอะโวคาโดมาสักประมาณ ¼ ถ้วยผสมรวมกันกับน้ำมะนาว 1 ช้อนชาและน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ใส่ลงในเครื่องปั่นแล้วปั่นให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าโดยเว้นรอบปากและดวงตาเอาไว้ ทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 20 นาทีจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น

สูตรสวยหน้าตึงกระชับ

นอกจากหน้าจะตึงกระชับแล้วยังทำให้สิวที่เป็นปัญหาทุเลาลงได้ด้วย ให้คุณใช้ไข่ขาว 1 ฟอง ผสมกับกำมะถัน 1 ช้อนชา และถั่วเขียวต้มบดละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วจึงนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีโดยไม่ลืมที่จะเว้นบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปาก เมื่อครบตามกำหนดเวลาแล้วจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ

สูตรสวยของคนผิวแพ้ง่าย

สูตรนี้ถือเป็นสูตรที่มีความอ่อนโยนสูงจึงดีต่อผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย ให้คุณนำน้ำมะนาว ½ ช้อนโต๊ะและหัวไช้เท้า ½ ถ้วยตวงมาใส่เครื่องปั่นแล้วปั่นให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงนำไปพอกบริเวณใบหน้าสักประมาณ 20 นาที
คุณอาจจะรู้สึกตึงๆ และคันยิบๆ เล็กน้อยเนื่องจากกรดในน้ำมะนาวและสารเคมีในหัวไช้เท้ากำลังทำงานอยู่ซึ่งไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เมื่อครบกำหนดตามเวลาแล้วให้ล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ ผิวคุณก็จะสดใสเปร่งปลั่งขึ้นมาทันที

สูตรขัดหน้าสะอาดเอี่ยมอ่อง

เป็นอีกสูตรที่สามารถใช้ขัดหน้าได้ ทั้งสะอาดหมดจดและยังมอบความเนียนนุ่มให้แก่ผิวของคุณในครั้งแรกที่ได้ใช้อีกด้วย โดยให้คุณนำข้าวโอ๊ดอบแห้ง 1 ช้อนชากับถั่วเขียวเมล็ดแห้ง ½ ช้อนชาผสมกันลงในเครื่องปั่นแล้วปั่นให้ละเอียดที่สุดจากนั้นจึงนำมาผสมน้ำเล็กน้อยแล้วขัดเบาๆ ให้ทั่วผิวหน้า
ควรเน้นการขัดบริเวณข้างจมูกซึ่งมักเป็นส่วนที่เกิดสิวเสี้ยนหรือความสกปรกได้ง่ายกว่าส่วนอื่น เมื่อขัดจนทั่วทุกพื้นที่บริเวณใบหน้าแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นให้หมดจดอย่าให้หลงเหลือ เพราะสูตรนี้หากล้างออกไม่หมดอาจทำให้เกิดสิวอุดตันบนใบหน้าได้

สูตรหน้าใสไร้ความหมองคล้ำ

ผู้ที่มีปัญหาหน้าหมองมองแล้วไม่สดใสควรใช้สูตรสวยสูตรนี้จะดีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง โดยนำน้ำมะนาว นมผงของเด็ก และน้ำสะอาดอย่างละ 1 ช้อนชามาผสมรวมกันให้ดี จากนั้นนำมาพอกที่ใบหน้าประมาณ 20 นาที พยายามอย่าขยับเขยื้อนใบหน้าในช่วงนี้นักเพราะอาจทำให้เกิดริ้วรอยได้ง่าย
เมื่อครบตามกำหนดเวลาแล้วให้ล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ แล้วซับหน้าเบาๆ จะรู้สึกได้เลยว่าผิวหน้าของคุณดูกระจ่างใสขึ้นเนื่องจากการทำงานของกรดในมะนาวและมีความนุ่มชุ่มชื้นจากนมผงอยู่ด้วย

สูตรสวยหน้าเต่งตึง

สูตรนี้เป็นสูตรที่ใช้อย่างได้ผลกับผู้ที่มีวัยเข้าเลข 3 และมีปัญหาผิวหน้าหย่อนยาน ถือว่าเป็นสูตรที่ทำง่ายไม่ยุ่งยากอะไรเพราะใช้น้ำแข็งเพียงอย่างเดียว
อันดับแรกให้คุณทำความสะอาดใบหน้าให้หมดจดเสียก่อนแล้วซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนูนุ่ๆ จากนั้นนำน้ำแข็งยูนิต 1 ก้อนมาลูบไล้บริเวณใบหน้าให้ทั่วจนน้ำแข็งละลายหมดก้อนคุณจึงค่อยล้างหน้าให้สะอาดด้วยน้ำเย็นจัดๆ อีกทีหนึ่ง เมื่อจับผิวหน้าดูแล้วคุณจะรู้สึกได้เลยว่าผิวตึงกระชับขึ้นทันที สูตรนี้หากคุณมีความสะดวกก็สามารถทำได้ทุกวันโดยไม่เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายใดๆ แก่ผิวหน้า

สูตรกระชับรูขุมขน

สูตรนี้เหมาะกับผู้ที่มีปัญหารูขุมขนกว้างที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือรอยแผลเป้นจากการแกะสิวทั้งหลาย สูตรนี้จะช่วยสมานผิวและรูขุมขนให้ตึงกระชับขึ้นจนผิวของคุณเนียนนุ่มและดูสวยขึ้นได้ในเวลาไม่ช้าไม่นาน
ให้คุณใช้น้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชาผสมกับแตงกวา 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจึงนำมาพอกให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำเย็นจัดๆ หรือน้ำแช่น้ำแข็ง เพียงเท่านี้หน้าของคุณก็จะเรียบเนียนขึ้นได้

สูตรแก้ปัญหาสิว

สูตรนี้เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสิวประเภทหัวสิวเม็ดใหญ่ๆ ซึ่งเมื่อใช้สูตรนี้แล้วสิวที่คุณเป็นจะค่อยๆ ยุบลงได้เองโดยให้คุณใช้ดินสอพองสัก 1 เม็ดใหญ่ผสมกับน้ำมะนาวสัก 1 ช้อนชาแล้วนำมาแต้มบริเวณสิวที่เป็นอยู่ก่อนเข้านอนแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ ในตอนเช้าให้หมดจด จะสังเกตได้ว่าหัวสิวยุบลงมากและผิวกระจ่างใสขึ้น

การดูแลสุขภาพผิวแบบธรรมชาติ



สูตรบำรุงผิวหน้าสวยด้วยธรรมชาติ


สำหรับเจ้าสาว ที่ต้องการดูแลผิวหน้าให้ดูเรียบเนียนสวยปิ๊งและสุขภาพดีอยู่เสมอ ต้องอ่านทางนี้ เพราะเรามีสูตรเฉพาะที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ และราคาประหยัดมาแนะนำกัน
1. ควรดื่มน้ำที่สะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน จะทำให้ผิวเราค่อยสดใสและเปล่งปลั่งในแบบที่ไม่ต้องเสียเงิน
2. ควรดื่มชาผสมน้ำผึ้งเพราะจะเป็นการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น
3. ควรดื่มน้ำผักหรือผลไม้สดๆทุกวัน เพราะจะได้รับวิตามินและแร่ธาตุช่วยเพิ่มอุณหภูมิในผิว ทำให้ผิวสดใสอ่อนวัย และดื่มน้ำตาม จะช่วยให้ผิวได้รับคุณค่าทางวิตามินเต็มที
4. ควรล้างหน้าให้สะอาด หากใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่ โฟม หรือเจล ควรถูกวนขึ้นบริเวณแก้มเบาๆ จากนั้นใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางถูขึ้นไปเบาๆ ที่บริเวณหน้าผาก สำหรับจมูกให้ถูย้อนขึ้นไปตามแนวกล้ามเนื้อ จากนั้นใช้นิ้วชี้และนิ้วนางถูบริเวณริมฝีปาก ส่วนบริเวณรอบดวงตาควรถูให้เบามือที่สุด โดยใช้นิ้วชี้วางที่เปลือกตาบน และนิ้วนางวางที่ใต้ตา จากนั้นลูบจากหางตาไปทางหัวตาเบาๆ จะช่วยให้ใบหน้าของคุณดูสดใส สะอาดหมดจด

นอกจากสวยใสในราคาประหยัดแล้ว เรายังมี สูตรบำรุงหน้าสวยด้วยธรรมชาติ มาฝากให้เจ้าสาวลองทำดู...


1.สูตรหน้าใส เปล่งปลั่ง ชุ่มชื่น

นำมะละกอมาปั่นให้ละเอียดและนำมาพอกหน้าให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 นาที ทั้งนี้เพราะในมะละกอจะมีสารช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออก ทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพผิวหน้า หากหน้ามันมากควรทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจใช้หัวไชเท้า หรือแตงกวามาช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื่นให้ใบหน้าได้อีกด้วย โดยการปอกเปลือก สไลด์บางๆ แช่เย็นไว้สักครู่ แล้วนำมาแปะไว้ที่ใบหน้าประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดาก็ได้จะทำให้หน้าสวยใสได้เช่นกัน

2.สูตรกระชับรูขุมขน

นำน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ผสมกับแตงกวา 2 ช้อน ปั่นให้ละเอียด นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นจัด ผิวของคุณก็จะนุ่มชุ่มชื่นขึ้นทันตาเห็นทีเดียว หรืออีกวิธีหนึ่ง คือใช้แอปเปิ้ล 1ผล ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เติมนมพร่องไขมัน 1ช้อนโต๊ะ ปั่นให้เข้ากัน นำมานวดเบาๆ บนใบหน้า พอกทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก ทั้งสองวิธีนี้จะช่วยสมานผิวและรูขมขนให้ตึงกระชับสวยขึ้น

3.สูตรลดความมัน

ใช้สับปะรดประมาณ 1 ถ้วย คั้นน้ำและแยกกากออก ใช้สำลีก้อนชุบน้ำสับปะรดมาทาที่ใบหน้าโดยให้เว้นที่บริเวณรอบดวงตาและรอบปาก ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น (ควรใช้สับปะรดที่มีรสค่อนข้างเปรี้ยวจะดีกว่าที่มรสหวาน เพราะจะมีประสิทธิภาพในการลดความมันได้ดีกว่า) หรือนำไข่ขาว 1 ฟอง น้ำมะนาว ½ ช้อนชา และแตงกวาขนาดเล็ก 1 ผลมาปั่นรวมกันให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้าประมาณ 20 นาที โดยเว้นบริเวณรอบดวงตาและปากไว้ จากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


4.สูตรลดปัญหาสิว

ใช้ดินสอพอง 1 เม็ดใหญ่ผสมกับน้ำมะนาว 1 ช้อนชา แล้วนำมาแต้มบริเวณสิวหัวใหญ่ก่อนนอน จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่นๆในตอนเช้าให้หมดจด จะสังเกตได้ว่าหัวสิวยุบลงมาก และผิวพรรณบนใบหน้าคุณก็ขาว และกระจ่างใส ขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว

5.สูตรลบจุดด่างดำ

นำส้มมาคั้นให้ได้น้ำประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นใส่นมสดผสมลงไป 1 ช้อนโต๊ะ คนจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดีแล้ว จึงนำสำลีก้อนมาชุบและถูให้ทั่วใบหน้าเบาๆ เว้นบริเวณรอบดวงตาและปาก ทิ้งไว้สักครู่ (ประมาณ 20 นาที) แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำเช่นนี้เป็นประจำผิวพรรณของคุณก็เปล่งปลั่งขึ้น ริ้วรอยด่าวดำก็จะค่อยๆ เลือนหายไปในที่สุด

6.สูตรลดปัญหาหน้าแห้งกร้านจากแดด

คว้านเนื้ออะโวคาโดประมาณ ¼ ถ้วย นำมาผสมรวมกันกับน้ำมะนาว 1 ช้อนชา และน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ใส่ลงในเครื่องปั่น คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าโดยเว้นรอบปากและดวงตาเอาไว้ ทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำเช่นนี้ใบหน้าที่เคยแห้งกร้าน ก็สามารถขาว กระจ่างใส ขึ้นได้

 






 






 



 




 




 

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการพัฒนาตน

                                                   หลักการพัฒนาตน

การพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความงอกงามและเพิ่มความสมบูรณ์ในชีวิตของบุคคลมีหลายแนวทางและหลายแนวคิด ซึ่งสรุปหลักการ ที่สำคัญอยู่ใน 3 แนวทางคือ การพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ การพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา และการพัฒนาตน เชิงพุทธศาสตร์
หลักการพัฒนาตนเชิงการแพทย์

เน้นความสำคัญของการรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้สมดุล หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม กับการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกาย เพราะร่างกายประกอบด้วยระบบอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานประสานกัน ถ้าทุกระบบทำงานตามปกติ จะเป็นสภาวะการเจริญเติบโต และดำรงชีวิตตามปกติของบุคคล แต่ถ้าหากระบบใดระบบหนึ่งไม่สามารถทำงานตามหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ย่อมเป็นอุปสรรคต่อ การดำรงชีวิต ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนา ทำให้เกิดปัญหาต่อบุคคลนั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการเรียนรู้ กระบวนการคิด อารมณ์ การทำงาน และพฤติกรรมต่างๆได้
เทคนิคการพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ที่สำคัญได้แก่
1. ตรวจร่างกายโดยทั่วไปทั้งระบบภายในและภายนอก ด้วยการสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ และรับการตรวจจากแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
2. ปรึกษาผู้ชำนาญการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตนเองจากโรคภัยต่างๆ ตามที่สมควรเหมาะสมกับเพศและวัย
3. ส่งเสริมความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ฝึกนิสัยการกินที่ดี รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยวิธีธรรมชาติ ไม่รอพึ่งยาเฉพาะเมื่อเวลาเจ็บป่วยเท่านั้น
4. หมั่นออกกำลังกายในที่อากาศบริสุทธิ์เพื่อบริหารทุกส่วนของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
5. มองโลกในแง่ดี ทำอารมณ์และจิตใจให้แจ่มใส
6. ศึกษาหาความรู้เรื่องการผ่อนคลายความเครียดและการลดความวิตกกังวลด้วยตนเอง

หลักการพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา

แนวคิดทางจิตวิทยามีหลายกลุ่ม แต่แนวคิดจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) และจิตวิทยาปัญญานิยม (Cognitive Psychology) ให้หลักการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองค่อนข้างมาก

1. หลักการจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม มีความเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าพฤติกรรมที่เป็นปัญหา หรือพฤติกรรมที่ต้องการพัฒนา ล้วนเกิดจากการเรียนรู้ คือเป็นผลของการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่ไม่ปกติของบุคคล (ยกเว้นเหตุจากพันธุกรรม ความผิดปกติทางชีวเคมีและจากความบกพร่องของระบบประสาท) เป็นพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง ถ้าจะปรับปรุง หรือแก้ไขก็ทำได้โดยให้การเรียนรู้เสียใหม่ การพัฒนาตนเองจึงจำเป็นต้องเข้าใจหลักการสำคัญของการเรียนรู้ เพื่อปรับพฤติกรรม โดยการควบคุมตนเอง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (operant conditioning) เป็นแนวคิดสำคัญของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ที่เป็นหลักการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในการพัฒนาหรือปรับปรุงตนเอง ซึ่งอธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลพวง เนื่องจากการปฏิสัมพันธ์ กับสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมาจะเปลี่ยนแปลงไปได้เนื่องจากผลกรรม (consequences) ที่เกิดขึ้นใน สภาพแวดล้อมนั้น ผลกรรมนี้มี 2 ประเภท คือ ผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรง (reinforcer) ที่มีผลให้พฤติกรรมที่บุคคล กระทำอยู่มี อัตราการกระทำเพิ่มมากขึ้น และผลกรรมที่เป็นตัวลงโทษ (punisher) ที่มีผลให้พฤติกรรม ที่บุคคลกระทำอยู่นั้นลดลง
การเสริมแรง คือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น ผลกรรมที่ทำให้ พฤติกรรม มีความถี่เพิ่มขึ้นเรียกว่า ตัวเสริมแรง ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นตัวเสริมแรงที่สนองความต้องการทางชีวภาพได้โดยตรง เช่น อาหาร น้ำ อากาศ ระดับอุณหภูมิ และความเจ็บปวด เป็นต้น ตัวเสริมแรงอีกตัวหนึ่ง คือ ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ เป็นตัวที่ต้องผ่าน การสัมพันธ์ กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิระยะหนึ่ง ก่อนที่จะมีคุณสมบัติเป็น ตัวเสริมแรงได้ด้วยตัวเอง เช่น คำยกย่องชมเชย เงินตรา เครื่องหมาย หรือตำแหน่ง เป็นต้น
การเสริมแรงจะดำเนินการได้ 2 ลักษณะ คือ การเสริมแรงเชิงบวก และการเสริมแรงเชิงลบ
การเสริมแรงเชิงบวก เป็นการเสริมที่ที่ทำให้พฤติกรรมที่ได้รับการเสริมมีความถี่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า มีความหมาย เหมือนกับ การให้รางวัล แต่ในความจริงมีความหมายแตกต่างกัน การเสริมแรงเชิงบวกเป็นการทำให้พฤติกรรมมีความถี่เพิ่มขึ้น แต่การให้รางวัลเป็น การให้แก่บุคคลที่ทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามโอกาสที่สำคัญ ซึ่งไม่จำเป็นว่าพฤติกรรมนั้น จะมีความถี่เพิ่มขึ้น หรือไม่
การเสริมแรงเชิงลบ เป็นการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อผลของพฤติกรรมนั้นสามารถช่วยให้บุคคล ถอดถอนสิ่งเร้า หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงพอใจออกไปได้ การเสริมแรงลบทำให้เกิดพฤติกรรมได้ 2 แบบ คือ พฤติกรรมหลีกหนี (escape) และพฤติกรรมหลีกเลี่ยง (avoidance)
พฤติกรรมหลีกหนีเกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับสภาพการณ์ที่ไม่พึงพอใจ แล้วสามารถแสดงพฤติกรรมเพื่อทำให้สภาพการณ์นั้นหมดไป หรือทำให้ความไม่พึงพอใจที่มีอยู่หมดไป เช่น ในกลุ่มคนที่เดินอยู่แล้วฝนตกลงมาอย่างหนัก เราจะเห็นพฤติกรรมหลีกหนีฝนหลายแบบ อาจหลบเข้าชายคาตึก หรือกางร่ม เป็นต้น
พฤติกรรมหลีกเลี่ยง เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เป็นสัญญาณว่าจะมีเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจเกิดขึ้น บุคคลสามารถ แสดงพฤติกรรม บางอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เช่น เมื่ออาจารย์นัดสอบในอีกหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้า นักศึกษาที่กลัวจะสอบได้คะแนนต่ำ และยังไม่ได้อ่านหนังสือเลย ก็จะเริ่มอ่านหนังสือ การที่อาจารย์นัดสอบบ่อยๆ เป็นการเสริมแรงลบ ทำให้นักศึกษาอ่านหนังสือ สม่ำเสมอมากขึ้น
ผลกรรมที่ทำให้พฤติกรรมซึ่งเคยกระทำอยู่ลดลงหรือยุติลง ได้แก่ การลงโทษ และการหยุดยั้ง
การลงโทษ คือการให้ผลกรรมหลังการแสดงพฤติกรรมแล้วมีผลทำให้พฤติกรรมนั้นลดความถี่ลงหรือยุติลง ซึ่งผลกรรมนั้น ไม่จำเป็นต้อง เป็นสิ่งที่ไม่พึงพอใจ แต่ถ้าทำให้พฤติกรรมลดลงหรือหยุดไปถือได้ว่าเป็นตัวลงโทษแล้ว แต่มีข้อโต้แย้งกันว่า การลงโทษเป็นเพียง การระงับพฤติกรรมไว้ชั่วคราวเท่านั้น ไม่อาจยุติได้อย่างถาวร เพราะเพื่ออำนาจการคุกคามจากตัวลงโทษอ่อนลง พฤติกรรม ที่เคยถูกลงโทษ จะกลับคืนมาอีก
การหยุดยั้ง คือการทำให้พฤติกรรมที่เคยได้รับการเสริมแรงมาก่อน ไม่ได้รับการเสริมแรงอีกต่อไป ซึ่งมีผลทำให้พฤติกรรมนั้นจะค่อยๆ ลดลงและสามารถยุติไปในที่สุด ซึ่งจะสามารถหยุดยั้งได้เร็ว หรือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ ประวัติในการได้รับการเสริมแรง ของพฤติกรรมนั้นว่า ได้รับตัวเสริมแรงขนาดใด สม่ำเสมอมาเพียงใด และระยะเวลาในการได้รับการเสริมแรงนานเท่าใด
การพัฒนาตน หรือการปรับปรุงตนเอง ตามแนวจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เน้นที่การควบคุมสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อม และการควบคุม การกำหนดผลกรรม ด้วยตนเอง ทั้งในการสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม และการลดเลิกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

การพัฒนาตนเชิงพุทธศาสตร์

                                                      การพัฒนาตนเชิงพุทธศาสตร์

ตามแนวคิดทางพุทธศาสตร์ การพัฒนาตนเป็นการเรียนรู้และการปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพอดี หรือการมีดุลยภาพของชีวิต มีความสัมพันธ์อันกลมกลืนระหว่างการดำเนินชีวิตของบุคคล กับสภาพแวดล้อมและมุ่งการกระทำตนให้มีความสุขด้วยตนเอง รู้เท่าทันตนเอง เข้าใจตนเองมากกว่าการพึ่งพาอาศัยวัตถุ จึงเป็นแนวทางการพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน หลักการพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสตร์ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ทมะ สิกขา และภาวนา
ทมะ คือการฝึกนิสัยดั้งเดิมที่ยังไม่ได้ขัดเกลาให้เหมาะสม มีขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) การรู้จักข่มใจ ข่มระงับความเคยชินที่ไม่ดีทั้งหลายได้ ไม่ยอมให้กิเลสรบเร้า หลอกล่อ ชักนำไปสู่ความเลวร้ายได้ และ 2) การฝึกปรับปรุงตนเอง โดยทำคุณความดี ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
สิกขา คือการศึกษา เพื่อให้รู้แจ้ง รู้จักประโยชน์ มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง เป็นกระบวนการฝึกฝนตนเองในการดำเนินชีวิต เรียกว่า ไตรสิกขา มี 3 ประการ คือ
1. ศีลสิกขา หมายถึงการฝึกความประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจาและการประกอบอาชีพ ดำรงตนในสังคมแบบสาธุชน เป็นคนดีของสังคม เป็นคนมีระเบียบ มีวินัย ปฏิบัติหน้าที่ตามปทัสถานของสังคมสามารถดำเนินชิวิตได้อย่างดีงามโดยมีความรับผิดชอบเกื้อกูลต่อสังคม
2. จิตสิกขา หมายถึงการฝึกจิต สร้างคุณภาพและสมรรถภาพทางจิตให้เข้มแข็งมั่นคง แน่วแน่ ควบคุมตนเองได้ดี มีสมาธิ มีจิตที่สงบ บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งที่ทำให้เศร้าหมอง อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ปัญญาอย่างลึกซึ้งและตรงตามสัจจธรรม
3. ปัญญาสิกขา หมายถึงการฝึกปัญญาให้เกิดความรู้ความเข้าใจสรรพสิ่ง รู้แจ้งตามความเป็นจริง มีจิตใจเป็นอิสระและมีปัญญาบริสุทธิ์

ภาวนา คำนี้ตรงกับคำว่าพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา และปัญญาภาวนา เทียบได้กับการพัฒนาทางกาย พัฒนาทางสังคม พัฒนาอารมณ์ และพัฒนาสติปัญญา
กายภาวนา หมายถึงการพัฒนาทางกายเพื่อให้เกิดการเจริญงอกงามในอินทรีย์ 5 หรือ ทวาร 5 ได้แก่ช่องทางการติดต่อสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย การพัฒนากายเป็นการส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ทั้ง 5 ทางเป็นไปอย่างปกติ ไม่เป็นโทษ ไม่มีพิษภัยอันตราย เช่น รู้จักสัมพันธ์ทางตา เลือกรับเอาสิ่งดีมีประโยชน์จากการเห็นทางตามาใช้ รู้จักสัมพันธ์ทางหู เลือกรับฟังสิ่งดีมีประโยชน์ ไม่รับฟังสิ่งเลวร้ายเข้ามา เป็นต้น
ศีลภาวนา หมายถึงการพัฒนาการกระทำ ได้แก่การสร้างความสัมพันธ์ทางกายและวาจากับบุคคลอื่นโดยไม่เบียดเบียนกัน ไม่กล่าวร้ายทำลายผู้อื่น ไม่กระทำการใดๆ ที่จะก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น แต่จะใช้วาจาและการกระทำที่ดี ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
จิตตภาวนา หมายถึงพัฒนาจิตใจ เพื่อให้จิตมีคุณภาพดี สมรรถภาพทางจิตดี และสุขภาพจิตดี คุณภาพจิตดี คือจิตใจที่มีคุณธรรม ได้แก่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา มีศรัทธา และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น สมรรถภาพทางจิตดี คือการมีความพร้อมในการทำงาน ได้แก่ ขันติคือมีความอดทน สมาธิคือความมีใจตั้งมั่น อธิษฐานคือมีความเด็ดเดี่ยว วิริยะคือมีความเพียร สติคือมีความระลึกเท่าทัน เป็นต้น ส่วนสุขภาพจิตดีเป็นสภาพจิตที่มีความสบายใจ อิ่มเอิบใจ แช่มชื่น เบิกบาน เกิดความสบายใจได้เสมอเมื่อดำรงชีวิตหรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ปัญญาภาวนา หมายถึงการพัฒนาปัญญา ได้แก่การรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสภาวะของโลกและชีวิต ทำให้จิตใจเป็นอิสระได้จนถึงขั้นสูงสุด ส่งผลให้อยู่ในโลกได้โดยไม่ติดโลก มีอิสระที่จะเจริญเติบโตงอกงามต่อไป
พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตโต, 2532) เสนอวิธีการที่จะพัฒนาตนไปสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม เรียกว่า “รุ่งอรุณแห่งการพัฒนาตน” ไว้ 7 ประการ ดังนี้
1. รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี ได้แก่ การรู้จักใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ พิจารณาในการเลือก เริ่มจากการเลือกคบคนดี เลือกตัวแบบที่ดี เลือกบริโภคสื่อและข่าวสารข้อมูลที่มีคุณค่า เรียกว่า ความมีกัลยานมิตร (กัลยานมิตตา)
2. รู้จักจัดระเบียบชีวิต มีการวางแผนและจัดการกิจการงานต่างๆ อย่างมีระบบระเบียบ เรียกว่า ถึงพร้อมด้วยศีล (ศีลสัมปทา)
3. ถึงพร้อมด้วยแรงจูงใจให้สร้างสรรค์ มีความสนใจ มีความพึงพอใจ มีความต้องการจะสร้างสรรค์กิจการงานใหม่ๆ ที่เป็นความดีงามและมีประโยชน์ เรียกว่า ถึงพร้อมด้วยฉันทะ (ฉันทสัมปทา)
4. มีความมุ่งมั่นพัฒนาตนให้เต็มศักยภาพ ผู้มีความเชื่อในตนว่าสามารถจะพัฒนาได้ จะมีความงอกงามถึงที่สุดแห่งความสามารถของตน เรียกว่า ทำให้ตนให้ถึงพร้อม (อัตตสัมปทา)
5. ปรับเจตคติและค่านิยมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เอื้อต่อการเรียนรู้ ทำให้สติปัญญางอกงามขึ้น เรียกว่า กระทำความเห็นความเข้าใจให้ถึงพร้อม (ทิฎฐิสัมปทา)
6. การมีสติ กระตือรือร้น ตื่นตัวทุกเวลา หมายถึง การมีจิตสำนึกแห่งความไม่ประมาท เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสภาพแวดล้อม เห็นคุณค่าของเวลาและใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เรียกว่า ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท (อัปปมาทสัมปทา)
7. รู้จักแก้ปัญหาและพึ่งตนเอง จัดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีความคิดวิจารณญาณตามเหตุปัจจัยด้วยตนเอง เรียกการคิดแบบนี้ว่า โยนิสโสมนสิการ (โยนิโสมนสิการสัมปทา)

การพัฒนาตนเองตามแนวพุทธศาสตร์ เน้นที่การพัฒนาจิตใจ ทำใจให้สงบ บริสุทธิ์ โดยการทำสมาธิ หรือวิปัสสนา

เทคนิคการพัฒนาตน

                                                       เทคนิคการพัฒนาตน

ก. การควบคุมตนเอง (self-control)

การควบคุมตนเอง คือการที่บุคคลเป็นผู้ดำเนินการในการพัฒนาหรือปรับปรุงพฤติกรรมด้วยตนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเป้าหมาย หรือวิธีการดำเนินการทั้งหมดเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น ถ้าบุคคลใดมีทักษะในการควบคุมตนเองได้ดี สิ่งเร้าภายนอกจะมีอิทธิพลต่อบุคคลนั้นน้อยมาก และในทางกลับกัน คนที่มีทักษะในการควบคุมตนเองอยู่ในระดับต่ำ สิ่งเร้าภายนอกจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้นได้มากในชีวิตประจำวันของคนเราล้วนเคยควบคุมตนเองโดยวิธีใดวิธีหนึ่งมาแล้ว เช่น

1. ใช้วิธีการยับยั้งทางร่างกาย เช่น การกัดริมฝีปากตัวเองเพื่อไม่ให้หัวเราะ ปิดตาตัวเองเพื่อไม่ให้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ชอบ ทำให้หลีกเลี่ยงผลกรรมที่ไม่พอใจได้
2. เปลี่ยนเงื่อนไขของสิ่งเร้าหรือสัญญาณที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะหลีกหนี เช่น ไปตากอากาศที่ชายทะเลเพื่อหลีกหนีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งอาจช่วยให้แสดงพฤติกรรมที่ต้องการบางอย่างได้มากขึ้นด้วย
3. หยุดการกระทำบางอย่าง เช่น การงดอาหารกลางวันเพื่อจะรับประทานมื้อค่ำที่จัดเป็นพิเศษ
4. เปลี่ยนแปลงการตอบสนองทางอารมณ์ บางครั้งจำเป็นต้องแสดงพฤติกรรมขัดกับความรู้สึกที่แท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงผลกรรมที่ไม่พึงพอใจ เช่น เมื่อหัวหน้างานทำเปิ่น ต้องทำหน้าตาเฉย หัวเราะไม่ได้เด็ดขาด
5. ใช้เหตุการณ์บางอย่างเพื่อควบคุมพฤติกรรมตนเอง เช่น การตั้งนาฬิการปลุกเพื่อช่วยให้ตื่นทันเวลา
6. ใช้ยาหรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ ควบคุมการกระทำของตนเอง เช่น การดื่มสุราเพื่อลืมเรื่องความทุกข์ ดื่มกาแฟเพื่อจะอ่านหนังสือหรือขับรถได้นานขึ้น
7. เสริมแรงหรือลงโทษตัวเอง โดยสัญญากับตนเองว่าถ้าสอบได้ B หรือ A จะซื้อของราคา 500 บาทให้ตัวเองชิ้นหนึ่ง หรือถ้าสอบได้เกรดไม่ดี จะงดการดูละครโทรทัศน์ 1 เดือน
8. ทำสิ่งอื่นแทนสิ่งที่กำลังทำอยู่ เช่น ออกกำลังกายแทนการนอนอยู่เฉย อ่านหนังสือเรียนแทนการดูละครน้ำเน่า
เทคนิคการควบคุมตนเอง มีแนวคิดพื้นฐานจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ ซึ่งมีความเชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลถูกควบคุมโดยเงื่อนไขนำและผลกรรม ถ้าเงื่อนไขนำเปลี่ยนแปลงหรือผลกรรมเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เงื่อนไขสำคัญในการควบคุมตนเองคือ บุคคลนั้นจะเป็นผู้จัดการกับเงื่อนไขนำและผลกรรมของพฤติกรรมด้วยตนเอง แทนการที่บุคคลอื่นจะจัดการให้
ในการควบคุมตนเองมักจะเกี่ยวเนื่องกับการเลือกแสดงพฤติกรรมที่มีเงื่อนไขผลกรรมที่ขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งการขัดแย้งของเงื่อนไขผลกรรมมีอยู่ 4 แบบ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรมที่จะได้รับผลกรรมทางบวกทันที เพื่อว่าจะไม่ได้รับผลกรรมทางลบในอนาคต เช่น หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ชอบจำนวนมาก เพื่อว่าจะได้ไม่อ้วนใน 2-3 ปี ข้างหน้า หรือหยุดการสูบบุหรี่เพื่อว่าจะได้ไม่เป็นมะเร็งปอด หรือหลีกเลี่ยงการส่ำส่อนทางเพศเพื่อจะได้ไม่ติดเชื้อเอดส์
2. แสดงพฤติกรรมที่จะได้รับผลกรรมทางลบทันที เพื่อจะได้รับผลกรรมทางบวกในอนาคต เช่น การทำงานหนักเพื่อมีฐานะดีขึ้น นักกีฬาฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อจะชนะในการแข่งขัน
3. ไม่แสดงพฤติกรรมที่ได้รับผลกรรมทางบวกเล็กน้อยทันที เพื่อว่าจะได้รับผลกรรมทางบวกที่มากกว่าในอนาคต เช่น การไม่ออกไปเที่ยวสนุกสนานในคืนวันศุกร์ เพื่อใช้เวลาอ่านหนังสือที่ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น หรือมีโอกาสศึกษาต่อ
4. แสดงพฤติกรรมที่ได้รับผลกรรมทางลบแต่น้อยทันที เพื่อหลีกเลี่ยงผลกรรมทางลบจำนวนมากในอนาคต เช่น การไปให้หมอฟันขูดหินปูน ตรวจฟัน ทำความสะอาดฟัน ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจ แต่การกระทำนั้นทำให้ไม่เกิดการปวดฟันที่รุนแรงในอนาคต
จากการขัดแย้งกันในเงื่อนไขของผลกรรมที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่าในการพัฒนาตนนั้น บุคคลจะต้องกระทำพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อควบคุมพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ในการควบคุมตนเองมีเทคนิควิธที่ใช้ได้หลายวิธี เช่น การควบคุมสิ่งเร้า การเตือนตนเอง การเสริมแรงตนเองและการลงโทษตัวเอง การทำสัญญากับตัวเอง การเปลี่ยนการตอบสนอง
1. การควบคุมสิ่งเร้า
เป็นกระบวนการจัดการกับเงื่อนไขสภาพแวดล้อมหรือสิ่งเร้าที่ควบคุมพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้า เพื่อทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือเพื่อให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์เกิดขึ้น โดย
* กำจัดสิ่งเร้าที่ควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น เช่น ถ้าจะประหยัดรายจ่ายฟุ่มเฟือย และเราทราบว่าทุกครั้งที่ไปเดินในห้างสรรพสินค้าเราจะเพลิดเพลินกับการซื้อของที่ไม่จำเป็น สามารถควบคุมได้โดยไปให้น้อยลงหรือลดการไปเดินในห้างสรรพสินค้าเสีย
* กำหนดสิ่งเร้าที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
* เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าใหม่ที่เหมาะสมกับพฤติกรรม ในกรณีที่พฤติกรรมที่เป็นอยู่ถูกควบคุมด้วยสิ่งเร้าที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
2. การเตือนตนเอง
การเตือนตนเองประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วนคือ การสังเกตตนเอง และการบันทึกพฤติกรรมตนเอง ใช้ได้กับทั้งพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน การเตือนตนเองจะได้ผลเป็นเพราะบุคคลได้บันทึกพฤติกรรมของตนเอง เมื่อเห็นข้อมูลที่ตนเองบันทึกไว้ ก็อาจพูดกับตนเองภายในใจว่า เราเป็นคนดี เป็นคนเก่ง หรือทำได้ตามเป้าหมายแล้วนะ ซึ่งการพูดเช่นนี้ทำหน้าที่เป็นการเสริมแรงพฤติกรรมได้ แต่ถ้าหากพบว่าพฤติกรรมที่ตนสังเกตและบันทึกไว้นั้นต่ำกว่าเป้าหมายที่ควรเป็น ก็อาจเกิดความรู้สึกผิด จึงมีการพูดเตือนตนเองภายในใจ และกระทำพฤติกรรมให้ดีขึ้นเพื่อหลีกหนีความรู้สึกผิดนั้น
การดำเนินการเตือนตนเองมีขั้นตอนดังนี้
* เลือกและกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายให้ชัดเจน
* สังเกตและบันทึกพฤติกรรมของตนเอง ให้ชัดเจนว่าพฤติกรรมเป้าหมายเกิดขึ้นหรือไม่
* ประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตและบันทึก
3. การเสริมแรงและการลงโทษตัวเอง
วิธีการนี้จำเป็นต้องอาศัยการสังเกตและการบันทึกพฤติกรรมในวิธีการเตือนตนด้วย ซึ่งมี 2 ขั้นตอน คือ
* พิจารณาพฤติกรรมที่ควรได้รับการเสริมแรงหรือรับการลงโทษ และเกณฑ์ในการเสริมแรงหรือการลงโทษ
* เสริมแรงเมื่อพฤติกรรมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และลงโทษเมื่อไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. การทำสัญญากับตนเอง
การทำสัญญากับตนเองเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการควบคุมตนเอง คือข้อตกลงกับตนเองที่เขียนเป็นลายลักษณ์ ระบุขั้นตอนที่ดำเนินการและเมื่อบรรลุเป้าหมายจะให้อะไรกับตนเอง การทำสัญญากับตน ก็เหมือนกับการทำสัญญาอื่นๆ คือ จะต้องมีข้อความที่ระบุในสัญญาว่าจะให้เวลาเท่าไร ซึ่งอาจให้เวลา 2-3 นาที เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี การเขียนสัญญาควรเขียนเฉพาะสิ่งที่รู้ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อบรรลุตามสัญญา ก็เปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมเป้าหมายขั้นต่อไป ซึ่งในสัญญาควรประกอบด้วย
* กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน
* บอกถึงสิ่งที่บุคคลต้องกระทำเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น
* บอกถึงการเสริมแรงตนเองเมื่อบรรลุเป้าหมาย และการลงโทษตนเองเมื่อไม่สามารถทำได้ตามสัญญา
* กรณีที่มีผู้อื่นมาเกี่ยวข้องด้วย บุคคลนั้นควรทำหน้าที่ให้ผลกรรมบางอย่างต่อการกระทำของตน
* กำหนดวันเวลาที่จะมีการทบทวนสัญญา เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป้าหมายและผลกรรม
5. การเปลี่ยนการสนองตอบ
เป็นวิธีการควบคุมตนเองอีกวิธีหนึ่ง บุคคลจะแสดงการสนองตอบอย่างอื่น หรือการกระทำพฤติกรรมอื่นที่สามารถระงับหรือแทนที่การสนองตอบที่ไม่เหมาะสม เช่น การคิดถึงเรื่องที่สนุกสนานเพื่อไม่ให้เกิดความวิตกกังวล การทำร่างกายให้ผ่อนคลายเพื่อควบคุมความเครียด เป็นต้น การทำสมาธิ อาจจัดอยู่ในวิธีการนี้ได้ เป็นการทำให้จิตใจและร่างกายผ่อนคลาย สามารถระงับพฤติกรรมบางอย่างได้

หากต้องการใช้เทคนิคการพัฒนาตนด้วยวิธีการควบคุมตนเอง ควรมีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายด้วยตนเองเริ่มต้นด้วยบุคคลจะต้องกำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ด้วยตนเองให้ชัดเจน
2. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมของตน การสังเกตและบันทึกพฤติกรรม จะต้องกระทำด้วยตนเอง และบันทึกเป็นระยะ ๆ
3. กำหนดเงื่อนไขการเสริมแรง หรือการลงโทษตนเอง เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการที่จะได้รับการเสริมแรง หรือการลงโทษ หลังจากที่ได้ทำ พฤติกรรมเป้าหมาย การกำหนดเงื่อนไขของการเสริมแรง หรือการลงโทษนี้ ควรกระทำด้วยตนเอง เพราะสอดคล้องกับ ความต้องการของตน อันจะนำไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล
4. เลือกเทคนิคด้วยตนเอง การเลือกเทคนิคด้วยตนเอง จะช่วยให้สามารถเลือกเทคนิคเพื่อควบคุมพฤติกรรมได้เหมาะสมกับตน
5. ใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง ตามวิธีการและขั้นตอนของเทคนิคที่นำมาใช้
6. ประเมินตนเอง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป้าหมาย ว่าเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไข และข้อกำหนดหรือไม่
7. เสริมแรง หรือ การลงโทษตนเอง หลังจากประเมินพฤติกรรมเป้าหมายแล้ว การจะได้รับการเสริมแรงหรือลงโทษนั้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป้าหมายว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็เสริมแรงด้วยการให้รางวัล แต่ถ้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ควรมีการลงโทษ
ข. วิธีการปรับความคิดและความรู้สึก
เป็นกระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกโดยการเปลี่ยนความคิด การตีความ การตั้งข้อสันนิษฐาน หรือการเปลี่ยนตัวแปร ทางความรู้ความเข้าใจเสียใหม่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยาปัญญานิยมที่มีความเชื่อว่า
1. ความรู้ความเข้าใจมีผลต่อพฤติกรรม
2. ความรู้ความเข้าใจสามารถสร้างให้มีหรือเปลี่ยนแปลงได้
3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในความรู้ความเข้าใจ
ค. วิธีเจริญสมาธิเบื้องต้น
การพัฒนาตนเองทางพุทธศาสตร์ จะเริ่มต้นด้วยการเจริญสมาธิ คือการทำจิตใจให้สงบ มีคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นในการฝึกปฏิบัติ ดังนี้ (ประสิทธิ ทองอุ่น, 2540..197)
* การนั่ง ควรนั่งหลับตาตามสบายบนพื้น บนเก้าอี้ ควรเป็นที่สะดวก ไม่กระด้าง ผู้ชายนั่งขัดสมาธิ ผู้หญิงนั่งพับเพียบตามถนัด เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนหน้าตัก นั่งตัวตรง เพื่อให้ลมหายใจเดินสะดวก อย่าเกร็งตัว นั่งตามสบาย คลายความเคร่งเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ กำหนดสติไว้ให้มั่นคง พร้อมกับบริกรรมกำกับเพื่อให้จิตมีเครื่องยึด คือ ภาวนาว่า “พุท” เมื่อหายใจเข้า และ “โธ” เมื่อหายใจออก โดยกำหนดภาวนาในใจเท่านั้น หรือภาวนาว่า “ยุบหนอ” เมื่อหายใจเข้า และ “พองหนอ” เมื่อหายใจออก หรือกำหนดเฉพาะลมหายใจเข้าออกโดยไม่ต้องมีบทภาวนา แต่การมีบทภาวนากำกับ ย่อมมีผลดีกว่าสำหรับผู้ฝึกใหม่ๆ
* การกำหนดลมหายใจ ให้ทำตามลำดับ ดังนี้
2.1 ขั้นวิ่งตามลม คือไม่บังคับลมหายใจเข้าออกให้สั้นหรือให้ยาว ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยส่งใจกำหนดวิ่งตามลมไป ตามจุดกำหนดทั้งสาม คือ ปลายจมูก ท่ามกลางอก และท้อง คอยระวังใจ คือ สติให้จับอยู่กับลมหายใจ คอบควบคุมจิตไม่ให้ดิ้นไปข้างนอก ให้สงบนิ่งอยู่ที่ลมหายใจ จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน
2.2 ขั้นดักอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง คือ เมื่อกำหนดลมหายใจเข้าออกโดยคอยตามลมไปจนจิตไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ก็ให้เปลี่ยนมากำหนดจิตไว้ ณ จุดใดจุดหนึ่งในจุดทั้งสามตามที่กำหนดได้ถนัด ไม่ต้องวิ่งตามลมเหมือนครั้งแรก กำหนดจุดที่จิตใจสบาย ส่วนมากนิยมกำหนดอยู่เฉพาะที่ปลายจมูก กำหนดได้ง่ายกว่าจุดอื่นๆ
สำหรับผู้ที่ภาวนาไม่ได้ผลดี อาจกำหนดลมหายใจด้วยการนับก็ได้ โดยส่งใจไปกับการนับอยู่ปลายจมูกแห่งเดียว การนับแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงแรกให้นับช้าๆ อย่านับให้ต่ำกว่า 5 แต่อย่าให้เกิน 10 ให้นับหายใจเข้าออกอย่างสบายๆ เป็นคู่ๆ คือหายใจเข้านับว่า 1 หายใจออกนับว่า 1 ต่อไปหายใจเข้านับว่า 2 หายใจออกนับว่า 2 เรื่อยไปจนถึงคู่ที่ 5 แล้วตั้งต้นใหม่คู่ที่ 1 จนถึงคู่ที่ 10 เพิ่มทีละคู่ไปจนครบ 10 คู่ แล้วย้อนมาที่คู่ที่ 1 ถึงคู่ที่ 5 ไปจนถึงคู่ที่ 10 อย่างนี้เรื่อยไป
ช่วงหลัง เมื่อสามารถฝึกจิตด้วยการนับอย่างช้าได้คล่องดีแล้ว ต่อจากนั้นเปลี่ยนเป็นนับเร็ว คราวนี้ไม่ต้องคำนึงถึงลมเข้าในหรือออกนอก แต่คอยกำหนดลมหายใจที่มากระทบจมูกอย่างเดียว ไม่ต้องนับเป็นคู่ ให้นับเรียงลำดับไปเร็วๆ จาก 1 ถึง 5 แล้วเริ่มใหม่จาก 1 ถึง 6 เพิ่มทีละ 1 เรื่อยไปจนถึง 10 แล้วเริ่มจาก 1 ถึง 5 ใหม่อีก
กำหนดอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าแม้เมื่อใดไม่กำหนดนับแล้ว สติก็ยังแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ คือ อยู่ในลมหายใจเข้าออกนั้น

ความหมายหลักการพัฒนาตน

ความหมายของการพัฒ
หลักการพัฒนาตน
การพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความงอกงามและเพิ่มความสมบูรณ์ในชีวิตของบุคคลมีหลายแนวทางและหลายแนวคิด ซึ่งสรุปหลักการ ที่สำคัญอยู่ใน 3 แนวทางคือ การพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ การพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา และการพัฒนาตน เชิงพุทธศาสตร์นาตน แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตน
ความสำคัญของการพัฒนาตน หลักการพัฒนาตนเชิงการแพทย์
หลักการพัฒนาตนเชิงจิตวิทยา การพัฒนาตนเชิงพุทธศาสตร์
เทคนิคการพัฒนาตน
ความหมายของการพัฒนาตน
การพัฒนาตน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า self-development แต่ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าการพัฒนาตน และมักใช้แทนกันบ่อยๆ ได้แก่ การปรับปรุงตน (self-improvement) การบริหารตน (self-management) และการปรับตน (self-modification) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายของตนเอง หรือเพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่สังคมคาดหวัง
ความหมายที่ 1 การพัฒนาตนคือการที่บุคคลพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เหมาะสมกว่าเดิม ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรม แสดงพฤติกรรม เพื่อสนองความต้องการ แรงจูงใจ หรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้
ความหมายที่ 2 การพัฒนาตนคือการพัฒนาศักยภาพของตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ตลอดจนเพื่อการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขของตน
แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตน
บุคคลที่จะพัฒนาตนเองได้ จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตัวเอง โดยมีความเชื่อหรือแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ แนวคิดที่สำคัญมีดังนี้
1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ทำให้สามารถฝึกหัดและพัฒนาตนได้ในเกือบทุกเรื่อง
2. ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใดๆ อีก
3. แม้บุคคลจะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ในบางเรื่อง ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเอง มีความสำคัญเท่ากับการควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอก
4. อุปสรรคสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิดติดยึด ไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทำ จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือฝึกทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อตนเอง
5. การปรับปรุงและพัฒนาตนเองสามารถดำเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับตนเอง

ความสำคัญของการพัฒนาตน
บุคคลล้วนต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรืออย่างน้อยก็ต้องการมีชีวิตที่เป็นสุขในสังคม ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและความต้องการของตนเอง พัฒนาตนเองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมโลก การพัฒนาตนจึงมีความสำคัญดังนี้
ก. ความสำคัญต่อตนเอง จำแนกได้ดังนี้
1. เป็นการเตรียมตนให้พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับสถานการณ์ทั้งหลายได้ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
2. เป็นการปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง และพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสม ขจัดคุณลักษณะที่ไม่ต้องการออกจากตัวเอง และเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
3. เป็นการวางแนวทางให้ตนเองสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้อย่างมั่นใจ
4. ส่งเสริมความรู้สึกในคุณค่าแห่งตนสูงให้ขึ้น มีความเข้าใจตนเอง สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตนได้เต็มศักยภาพ

ข. ความสำคัญต่อบุคคลอื่น เนื่องจากบุคคลย่อมต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การพัฒนาในบุคคลหนึ่งย่อมส่งผลต่อบุคคลอื่นด้วย การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียมตนให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของผู้อื่น ทั้งบุคคลในครอบครัวและเพื่อนในที่ทำงาน สามารถเป็นตัวอย่างหรือเป็นที่อ้างอิงให้เกิดการพัฒนาในคนอื่นๆ ต่อไป เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชน ที่จะส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ค. ความสำคัญต่อสังคมโดยรวม ภาระกิจที่แต่ละหน่วยงานในสังคมต้องรับผิดชอบ ล้วนต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติงาน การที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนได้พัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบการทำงานหรือเทคโนโลยี การพัฒนาเทคนิควิธี หรือวิธีคิดและทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของผลผลิต ทำให้หน่วยงานนั้นสามารถแข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้
หลักการพัฒนาตน
การพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความงอกงามและเพิ่มความสมบูรณ์ในชีวิตของบุคคลมีหลายแนวทางและหลายแนวคิด ซึ่งสรุปหลักการ ที่สำคัญอยู่ใน 3 แนวทางคือ การพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ การพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา และการพัฒนาตน เชิงพุทธศาสตร์

เปิดประตู.....สู่สมอง

                                                          ส่วนประกอบของสมอง

  เซรีบรัม สมองส่วนหน้า : สมองส่วนที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์
                 
   ฟรอนทัล โลบ : สมองกลีบหน้า หรือ สมองกลีบหน้าผาก
         ควบคุมด้านการวางแผน การจัดการ การแก้ไข้ปัญหา บุคคลิกภาพ พฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึก จิตสำนึก การออกเสียงพูด ความจำ ทักษะการเคลื่อนไหว และการคิดคำพูด
  
   พาไรทัล โลบ : สมองกลีบข้างศรีษะ
             ควบคุมการรับรู้จากสัมผัสต่างๆ ในร่างการ และการทำงานประสานกันของมือและตา
  
   ออกซิพิทัล โลบ : สมองกลีบท้ายทอย
              ควบคุมการรับรู้ทางด้านการมองเห็นภาพ และการประมวลภาพ (แปลความหมายและเข้าใจในสิ่งที่มองเห็น

   ซีรีเบลลัม : สมองน้อยหรือสมองเล็ก
              ควบคุมการรักษาสมดุลการทรงตัว และควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานสัมพันธ์กัน เช่น แขนและขา

   เทมพอรัล โลบ : สมองกลีบขมับ
              ควบคุมการรับรู้ทางด้านการได้ยินเสียง ความเข้าใจภาษา และความจำ

สมอง

                                        คุณเคยรู้ไหมว่าสมองมีลักษณะอย่างไร

               สมองเป็นเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่หนัก 3 ปอนด์ ที่มีเซลล์ประมาณกว่า 100 พันล้านเซลล์ และมีระบบที่เชื่อมต่อกันมากกว่าดวงดาวในจักรวาล สมองเป็นตัวประมวล และกำหนดความคิด ความรู้สึก การเคลื่อนไหว การสื่อสาร และการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากนี้ภายในสมองยังประกอบด้วยน้ำถึง 85 %

                      คุณควรภาคภูมิใจกับสมองของคุณ เพราะคุณเป็นคนพัฒนามันด้วยตนเอง ยิ่งคุณใช้มันมากขึ้นเท่าไร มันก็จะมีขนาดใหญ่และหนักมากขึ้นเท่านั้น คุณทราบไหมว่าถ้าการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาททั้งหมดในเซลล์สมองถูกทำให้แผ่ขยายออกต่อๆกันไป ก็อาจจะมีความยาวเท่ากับระยะทางไปกลับระหว่างโลกกับดวงจันทร์เลยทีเดียว

                      
                       นั่นหมายถึงว่า ศักยภาพบางส่วนที่อยู่ในสมองของคุณยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ แล้วทำไมคุณถึงไม่คดจะใช้มันและพัฒนามันให้ดียิ่งขึ้นคุณควรจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ดีกว่าทิ้งมันไป ความสามารถพิเศษหลายๆ อย่างนั้นเกิดขึ้นจากคนที่มีมันสมองธรรมดาๆ เพียงแต่พวกเขาใช้สมองให้แตกต่างจากคนอื่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ทำไมกระเพาะอาหารจึงไม่ย่อยตัวเอง

ทำไมกระเพาะอาหารจึงไม่ย่อยตัวเอง ?


กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่ย่อยอาหารทุกชนิดที่เรารับประทาน  แต่ทำไมกระเพาะถึงไม่
ย่อยตัวเอง  น้ำย่อยเมื่อขับออกมาจะทำลายเซลล์บริเวณกระเพาะบ้าง  แต่กระเพาะก็สามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้น
มาทดแทนได้เรื่อย ๆ ในเวลาเพียง 3 วันสามารถสร้างเซลล์ได้ถึง 500,000 เซลล์  ถ้ามีน้ำย่อยในกระเพาะมาก
เกินไป  ก็อาจจะเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้
 กระเพาะอาหารมีวิธีป้องกันตัวเอง โดยมีชั้นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า ชั้นแกสตริกมิวโคซา มาคลุมอยู่
ส่วนประกอบในน้ำย่อย  มี เปปซิน เป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีนกับกรดเกลือ (HCI) เอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้หลั่ง
ผ่านชั้นมิวโคซาออกมาสู่กระเพาะ  เอนไซม์เปปซินไม่ค่อยมีอันตรายนัก  แต่กรดเกลือมีพิษสงมาก  ถ้าเราไม่มี
ชั้นมิวโคซากั้นไม่ให้กรดเกลือเข้าไปถึงเซลล์ชั้นในได้แล้วล่ะก็  กระเพาะเราคงจะพังแน่
 นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแอละบามา สหรัฐฯ พบว่า  บนชั้นมิวโคซานั้นยังมีชั้นของ
คาร์โบไฮเดรตมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง  แต่ยังไม่รู้ว่าชั้นนี้ป้องกันกระเพาะได้อย่างไร  นอกจากนั้นยังมี พรอสตา-
แกลนดินส์ (prostaglandins) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีในเซลล์มนุษย์ทั่วไป  เขาพบว่าระดับของพรอสแกลน
ดินส์จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระดับของคาร์โบไฮเดรตที่จะไปทำให้กรดลดความรุนแรงลง
 คำตอบท้ายสุดที่อาจเป็นไปได้ก็คือ  ผนังของชั้นมิวโคซานั้นประกอบด้วยไขมันซึ่งไอออนของ
ไฮโดรเจน และไอออนของคลอไรด์ไม่สามารถผ่านชั้นไขมันนี้ได้  แต่เขาพบว่าสารพวกน้ำส้มสายชู  แอสไพริน
น้ำส้มคั้น  สารละลายสิ่งสกปรก (ที่มีอยู่ในยาสีฟันและผงซักฟอก) และสารอื่น ๆ จะไม่ถูกไอออไนซ์และสามารถ
ซึมผ่านผนังเซลล์ของกระเพาะเข้าไปได้  ดังนั้น  จึงไม่ควรดื่มน้ำส้มคั้นหรือกินยาแอสไพรินขณะที่ท้องว่าง
และควรกินอาหารให้ตรงเวลา  อย่างปล่อยให้ท้องว่างนาน ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของกระเพาะเราเอง
 
                     หน้าแรก

ของหวานทำให้ฟันผุได้อย่างไร

ของหวานทำให้ฟันผุได้อย่างไร ?


น้ำตาลทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคเหงือก  แต่ปริมาณยังสำคัญน้อยกว่าจำนวนครั้งที่รับประทานเข้า
ไป  ฉะนั้นการประนีประนอมระหว่างการตามใจตัวเองกับการป้องกันฟันผุก็คือ  พยายามลดการรับประทาน
ขนมหวานให้เหลือเพียงวันละครั้งเดียว
 น้ำตาลธรรมดาหรือซูโครส (sucrose) เป็นอาหารโปรดของ "แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ" ซึ่งเราได้ยิน
เสมอ ๆ ในโฆษณายาสีฟันยี่ห้อต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ  เมื่อแบคทีเรียพบซูโครสในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ
จะสร้างสารเหนียวเรียกว่า เด็กซ์แทรน (dextrans) ซึ่งเกาะติดแน่นกับฟัน  แบคทีเรียนี้จะเติบโตและเพิ่มจำนวน
อย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่กลายเป็นแผ่นคราบบนตัวฟันหรือพลัก (plague) แบคทีเรียชนิดอื่นจะเข้าไป
อาศัยอยู่ในพลัก  และเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นกรด  กรดจะทำลายเคลือบฟันจนหมดสิ้น  ต่อจากนั้นก็จะทำ
ลายแคลเซียมภายในฟันและทำให้ฟันโบ๋เป็นโพรง
 แบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดนี้  จะเริ่มต้นทำงานเพียงไม่กี่วินาทีหลังจากการรับประทานน้ำตาลเข้าไป
และเมื่อเกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วการสร้างกรดก็มักจะดำเนินต่อไปอีกนาน  ดังนั้นฟันผุจึงมักเกิดขึ้นภายหลังจาก
รับประทานขนมหวานเข้าไปนานแล้ว  นี่เป็นคำอธิบายว่า  ทำไมการรับประทานขนมหวานบ่อย ๆ ถึงทำให้ฟันผุ
 นอกจากพลักจะเป็นศัตรูสำคัญของฟันแล้ว  ยังทำอันตรายต่อเหงือกและกระดูกที่ยึดฟัน  เริ่ม
ด้วยการสะสมพลักบนตัวฟันและรอบ ๆ แนวเหงือก  แบคทีเรียที่อยู่ในพลักจะทำให้เกิดสารเคมีที่ทำให้เกิดความ
ระคายเคืองแก่เหงือกและทำให้เลือดออก  เมื่อเวลาผ่านไปแบคทีเรียที่อยู่ใกล้ส่วนนอกของฟันมากที่สุดจะตาย
กลายเป็นหินปูนที่เกาะรอบตัวฟัน  ซึ่งจะถูกปกคลุมด้วยชั้นของพลัก  ที่มีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่อีกทีหนึ่ง ต่อมา
เส้นใยที่เชื่อมต่อเหงือกกับฟันจะมีแบคทีเรียอาศัยอยู่เต็มไปหมด  ในที่สุดก็จะทำลายกระดูกฟันที่ยึดฟันทำให้
ฟันโยก  ในภาวะนี้ฟันจะผุและติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย  อาการที่เห็นบ่อยที่สุดก็คือ  เหงือกบวมและเลือดออกง่าย
 พลักเป็นโรคที่ซ่อนตัวอยู่  เนื่องจากโปร่งใสและไม่มีสี  นอกจากกรณีที่เป็นชั้นหนามาก ๆ จึงมอง
เห็นเป็นแผ่นสีขาว ๆ เมื่อทันตแพทย์กำจัดพลักและหินปูนที่เกาะตามไรฟันออกหมดแล้ว  เราอาจป้องกันไม่ให้
เกิดได้อีกโดยแปรงฟันเป็นประจำ  กล่าวคือกำจัดแผ่นคราบที่เกาะอยู่รอบนอกฟันทุกซี่อย่างน้อยที่สุดวันละหนึ่ง
ครั้ง  ถ้าจะให้ดีควรเป็นเวลาก่อนเข้านอน  ทันตแพทย์แนะนำให้แปรงฟันให้ทั่วอย่างถูกวิธี  และใช้เส้นใยไนล่อน
ที่เรียกว่า เดนทอลฟลอสส์ (dental floss) หรือไหมขัดซอกฟันทำความสะอาดตามซอกฟัน  เท่านี้คุณก็จะยิ้ม
ได้อย่างสดใส




ทำไมคนกินหญ้าไม่ได้ ?


วัว ควาย และม้า ล้วนแต่กินหญ้ากินฟางกันได้ ปลวกก็กินไม้ได้  แต่คนเราเห็นจะอดตายแน่ถ้าถูก
บังคับให้กินแต่หญ้าแต่ฟาง  แท้จริงแล้วอาหารประเภทแป้งที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ก็มีโครงสร้างทางเคมีย่อยๆ
เหมือนกับเซลลูโลสที่เป็นส่วนประกอบหลักของหญ้า ฟาง และไม้ คือทั้งแป้งและเซลลูโลสนั้นเป็นสายยาว ๆ 
ของน้ำตาลกลูโคสเหมือนกันแต่วิธีการต่อและเรียกตัวของกลูโคสแต่ละโมเลกุลต่างกัน
 การย่อยแป้งและเซลลูโลสต้องอาศัยน้ำย่อยหรือเอนไซม์ ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดพิเศษ  น้ำย่อยของ
คนเราย่อยได้เฉพาะแป้งเท่านั้น  ทั้งนี้เป็นเพราะการทำงานของน้ำย่อยต้องอาศัยรูปร่างของโมเลกุลสารที่จะถูก
ย่อยด้วย  ถ้าหากสารดังกล่าวมีโมเลกุลที่รูปร่างเหมาะสมกับน้ำย่อยจึงจะย่อยได้  ส่วนแป้งและเซลลูโลส
โมเลกุลต่างกัน  น้ำย่อยสำหรับแป้งจึงไม่อาจย่อยเซลลูโลสได้
 สัตว์ที่กินหญ้า ฟาง และพืชอื่น ๆ เป็นอาหารก็ย่อยเซลลูโลสไม่ได้เช่นกัน  แต่ในทางเดินอาหารของ
สัตว์เหล่านี้มีจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างน้ำย่อยออกมาย่อยเซลลูโลสให้แตกตัวเป็นกลูโคสได้ ดังนั้น สัตว์จึงได้
กลูโคสจากการย่อยของจุลินทรีย์เป็นอาหาร  ในขณะที่จุลินทรีย์ก็ได้อาหารและที่อยู่อันสุขสบายในทางเดิน
อาหารของสัตว์  นับเป็นภาวะที่ต้องพึ่งพากันอย่างเหมาะสมทีเดียว
 
ถัดไป >>>




รูปทรงที่แท้จริงของรุ้งกินน้ำ

รูปทรงที่แท้จริงของรุ้งกินน้ำ


เวลามองดูรุ้งกินน้ำ  เคยคิดไหมว่ารุ้งกินน้ำมีรูปร่างที่แท้จริงเป็นอย่างไร ? เมื่อแสงแดดกระทบ
ละอองน้ำจะหักเหออกมาเป็นแสง 7 สี  อย่างที่เรารู้กันอยู่นั้นรุ้งจะมีรูปร่างเป็นวงกลม  ขณะที่เรายืนอยู่ที่พื้น
แสงที่หักเหเข้าสู่ตาเราจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย  โดยมีตาของเราเป็นจุดยอดของกรวยและมีตัวรุ้งกินน้ำเป็น
เส้นรอบวงของฐานกรวยคือสีแดง  ทิศทางของแสงที่หักเหเข้าสู่ตาจะทำมุม 42 องศากับแสงอาทิตย์ที่ตกกระ
ทบละอองน้ำพอดิบพอดี  ส่วนแสงอื่น ๆ จะอยู่ถัดจากสีแดงเข้าไป  ภายในมุมก็จะน้อยลงไปตามลำดับ
ถ้าอย่างนั้น  ทำไมเราไม่เห็นรุ้งเป็นวงกลมล่ะ ?
 คำตอบก็คือ  เห็นได้  ถ้าเราขึ้นไปดูรุ้งบนอากาศอย่างเช่นในเครื่องบิน  การที่เราอยู่บนอากาศ
ละอองน้ำทั้งที่อยู่เหนือและใต้ตัวเราจะช่วยกันหักเหแสงให้เราเห็นรุ้งเป็นวงกลมได้  แต่ตอนที่เราอยู่บนพื้นดิน
มีแต่ละอองน้ำส่วนเหนือเราเท่านั้นที่หักเหแสงเราจึงเห็นรุ้งเป็นเส้นโค้งเท่านั้น




เคล็ดลับการเลี้ยวโค้ง


เวลาที่เซียน BMX หรือโมโตครอสจะทิ้งโค้ง  คุณคงสังเกตเห็นว่าตอนแรกเขาจะหักออกในด้าน
ตรงข้ามกับโค้งนิดหน่อยแล้วจึงหักเข้าโค้ง  และในขณะเลี้ยวโค้งรถจะเอียงไปในทิศทางที่ต้องการเลี้ยว  ซึ่ง
พร้อม ๆ กันนั้นเองแรงเหวี่ยงจากการเลี้ยวก็จะเหวี่ยงคนขับให้ออกไปทางด้านตรงข้ามกับทิศที่ต้องการจะ
เลี้ยว
 การเลี้ยวโดยหักหน้ารถออกทางด้านตรงข้ามก่อนนั้นมีโมเมนตัมผลักล้อหน้า  ทำให้รถเอียงไปใน
ทางที่ต้องการเลี้ยวได้ง่ายขึ้น  ตามกฎของโมเมนตัมเชิงมุมแสดงให้เห็นว่าล้อหน้าที่หมุนเร็วจี๋อยู่นั้นทำหน้าที่
เสมือนไจโจสโคป  ซึ่งจะมีแรงต้านการบิดตั้งต้นเนื่องจากการหักเลี้ยวครั้งแรก  เมื่อหักออกจากโค้งก่อนแรง
ต้านที่ว่านี้จะส่งไปในทิศทางที่เราจะเลี้ยวพอดีทำให้เราหักเลี้ยวกลับเข้าโค้งได้ดีขึ้น
 ถ้าเราหักเข้าโค้งโดยไม่หักออกก่อนจะเป็นอย่างไร ? เราก็ต้องเอียงตัวแรงขึ้นเพื่อให้รถเอียงเข้า
โค้ง  แรงไจโรสโคปิกก็จะต้านการเลี้ยวทำให้คนขับต้องหักรถกลับเร็วขึ้นเพื่อไม่ให้รถล้ม  ยิ่งรถวิ่งเร็วเท่าใด
ปรากฏการณ์นี้จะชัดยิ่งขึ้น  ในการเลี้ยวแนวล้อหน้าและหลังจะไปตามกันโดยล้อหน้าจะต้องกว้างกว่าล้อหลัง
เมื่อล้อหน้ากลับตั้งตรงการเลี้ยวก็จะสิ้นสุดลง  ถ้าเอียงตัวมากไปรถจะล้มอย่างแน่นอน




ทำไมเราจึงปวดฟัน ?


ครั้งหนึ่งในชีวิตของเราคงต้องเคยปวดฟันบ้างเป็นแน่  โดยเฉพาะถ้ามีฟันผุอยู่เวลารับประทาน
ของหวานจะปวดฟันจนน้ำตาไหลทีเดียว  รู้ไหมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
 ก่อนจะอธิบายสาเหตุของการปวดฟัน  เราลองมาทำการทดลองนี้ก่อน  นำหัวผักกาดมาหัวหนึ่ง 
เจาะตรงกลางให้เป็นโพรง  จากนั้นเทน้ำตาลข้น ๆ ลงไปในโพรงแล้วปิดด้วยจุกคอร์กที่มีหลอดแก้วกลวง
เสียบอยู่  นำหัวผักกาดนี้แช่ลงในอ่างน้ำ  สักครู่หนึ่งจะเห็นน้ำในอ่างซึมผ่านเนื้อหัวผักกาดเข้าไปในโพรงที่มี
น้ำตาลอยู่  ปรากฏการณ์ที่น้ำซึมผ่านเนื้อเยื่อไปยังน้ำตาลซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่านี้เรียกว่า ออสโมซิส 
(OSMOSIS) น้ำจะซึมไปเรื่อย ๆ จนระดับความกดดันที่ผิวทั้งสองข้างของเนื้อเยื่อเท่ากัน  ระดับน้ำในหลอด
แก้วกลวงจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามแรงดันออสโมซิส
 จากการทดลองนี้สามารถนำมาอธิบายเรื่องการปวดฟันได้เป็นอย่างดี  สมมติว่าหัวผักกาดที่มี
โพรงนั้นเป็นฟันผุ  เมื่อเรารับประทานของหวาน  น้ำตาลจะไปขังอยู่ในรูของฟัน  ทำให้เกิดการออสโมซิสของ
น้ำจากประสาทฟันเข้าสู่โพรงฟัน  และทำให้เกิดแรงกดดันออสโมซิสขึ้นที่ฟันซี่นั้น  ความกดดันนี้เองทำให้เรา
ปวดฟัน  วิธีแก้ปวดก็คือไปอุดฟันหรือถอนฟันซี่นั้น
 
ถัดไป>>>

เสียงเพลงทำให้แก้วแตกได้จริงหรือ ?

เสียงเพลงทำให้แก้วแตกได้จริงหรือ ?


การร้องเพลงด้วยเสียงสูง ๆ เป็นเวลานานสามารถทำให้แก้วแตกได้ไม่ใช่เรื่องพูดเล่น  แท้จริงแล้ว
เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติซึ่งเรียกว่าเกิด "กำทอน (resonance) " ของเสียง คือ  เกิดการแทรกสอดของ
คลื่นเสียงแบบเสริมกัน
 เพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้ง่ายขึ้น  ลองนึกถึงเวลาเราไกวชิงช้าได้จังหวะเหมาะ ๆ พอดี  ชิงช้าจะยิ่ง
ไกวสูงขึ้น  แต่ถ้าไกวชิงช้าผิดจังหวะจะทำให้ชิงช้าไกวเบาลง  เนื่องจากแรงที่ผิดจังหวะไปหักล้างกับการ
เคลื่อนไหวของชิงช้าเสียหมด
 แก้วก็เช่นเดียวกัน  แก้วแต่ละใบจะมีการสั่นสะเทือนด้วยความถี่เฉพาะตัว  ถ้าลองใช้ดินสอเคาะแก้ว
ใบใดจะได้ยินเสียงเหมือนเดิมทุกครั้ง  คลื่นเสียงจากนักร้องทำให้แก้วสั่นสะเทือนได้เช่นกัน  ถ้าความถี่ของ
เสียงไม่พอดีก็จะหักล้างกับการสั่นสะเทือนของแก้ว  แต่ถ้านักร้องสามารถปรับความถี่ของเสียงได้พอเหมาะ
กับการสั่นสะเทือนของแก้วจะทำให้แก้วสั่นแรงขึ้นจนแตกได้




ทำไมคนเราจึงดื่มน้ำทะเลไม่ได้ ?


นกทะเลและสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดจะมีต่อมพิเศษสำหรับถ่ายเกลือออกจากร่างกายโดยเฉพาะ
นกนางนวลสามารถดื่มน้ำทะเลได้ถึง 10% ของน้ำหนักตัว  และสามารถกำจัดเกลือที่มีมากเกินไปได้ภายใน
เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น  ถ้ามนุษย์จำเป็นต้องดื่มน้ำทะเลในสัดส่วนเท่านกคือ 2 แกลลอน ( 7.56 ลิตร )
น้ำจะถูกดูดออกจากร่างกายเนื่องจากความพยายามที่จะกำจัดเกลือที่มีมากเกินไปออกจากร่างกาย
 ไม่มีสัตว์ชนิดใดมีเกลือสะสมอยู่ในร่างกายได้เกินร้อยละ 0.9 เกลือที่มีมากเกินกว่าปริมาณนี้  จะถูก
ขับออกมากับปัสสาวะ  ไตของมนุษย์ไม่สามารถกำจัดเกลือที่มีอยู่ในปัสสาวะได้เกินกว่าร้อยละ 2.2 ดังนั้น 
มนุษย์จึงไม่สามารถดื่มน้ำทะเลซึ่งมีเกลือผสมอยู่ถึงร้อยละ 3.5 ได้  ม้าสามารถกำจัดเกลือที่มีอยู่ในปัสสาวะได้
เพียงร้อยละ 1.5 เนื่องจากไตไม่มีประสิทธิภาพ  ดังนั้น  ม้าจึงไม่สามารถดื่มน้ำกร่อยซึ่งมนุษย์สามารถ
บริโภคได้




ทำไมท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ?


แท้จริงแล้วท้องฟ้าเองไม่มีสี  แสงสีฟ้าที่เห็นเกิดจากสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงอาทิตย์  โฟตอนของแสง
สีฟ้ามีพลังงานมากกว่าโฟตอนของแสงสีอื่น  จึงทำให้มันชนอะตอมอื่นออกไปได้มากกว่าและเคลื่อนลงต่ำมา
เข้าตาเรา  ดังนั้นเมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า  เราเลยเห็นโฟตอนแสงสีฟ้ามาก  ทำให้เห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า
 แต่สีของดวงอาทิตย์ขณะลับขอบฟ้าไม่ได้เป็นสีฟ้า  เพราะเมื่อดวงอาทิตย์ลดต่ำลง  เราจะเห็น
แสงอาทิตย์ส่องเป็นมุมผ่านฝุ่นสกปรกในอากาศ  ฝุ่นละอองเหล่านี้จะสะท้อนโฟตอนสีฟ้าส่วนใหญ่ออกไปก่อน
ที่แสงจะมาเข้าตาเรา  จึงทำให้เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีส้ม ๆ แดง ๆ


ถัดไป >>>

บาดแผลหายได้อย่างไร ?


ขณะที่เรากำลังใช้มีด  บางครั้งอาจจะเผลอทำมีดบาดตัวเอง  แต่ทันทีทันใดนั้น  ร่างกายของ
เราก็จะเริ่มซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นทันที  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
 ภายในเวลาไม่กี่นาที  ปลายเส้นเลือดที่ขาดก็ถูกหยุดด้วย เกล็ดเลือด ( platelets ) และเส้นใย
โปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริน ( fibrin ) เลือดที่ออกมาอยู่ในแผลก็จะแข็งตัวกลายเป็นสะเก็ดคลุมแผลอยู่
ร่างกายเริ่มส่งเลือดมายังบริเวณบาดแผลเพิ่มขึ้น  เม็ดเลือดขาวที่มากับกระแสเลือดก็จะคอยฆ่าพวกเชื้อโรค
ที่บุกรุกเข้ามา  คอยจับทำลายพวกเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ขณะเดียวกัน  เซลล์ชั้นนอกสุด
ของผิวหนัง ( epidermal cell ) ก็จะแบ่งตัว  และเคลื่อนที่จากขอบแผลทั้งสองข้างเข้ามาบรรจบกันใหม่
ตรงกลายภายใต้สะเก็ดเลือด  บาดแผลก็จะถูกคลุมด้วยชั้นเซลล์เหมือนเดิม  เส้นเลือดในบริเวณนั้นจะเจริญ
แทงเข้ามายังบาดแผลเพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยง
 เซลล์ที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสต์ ( fibroblast ) จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว  เพื่อสร้างเนื้อเยื่อมาเสริม
บริเวณบาดแผลให้เต็มโดยการผลิต คอลลาเจน ( collagen ) ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีความเหนียว  ทำให้บาดแผล
มีความแข็งแรง  ขณะเดียวกันไฟโบรบลาสต์จะหดตัว  ทำให้บาดแผลสองข้างชิดกันเข้ามามากขึ้น  ปลาย
เส้นประสาทที่ขาดก็จะค่อย ๆ สอดเข้าไปในแผลเพื่อให้ความรู้สึกบางส่วนของบริเวณนั้นกลับคืนมา  เส้นเลือด
ต่าง ๆ ก็จะงอกเข้าหากันจนประสานกันเป็นร่างแหอยู่ภายในบาดแผล
 ในที่สุด  สะเก็ดเลือดบนแผลก็หลุดออกไป  ผิวหนังก็กลับมาประสานกันเหมือนเดิม  เนื้อเยื่อ
ภายใต้นั้นก็จะหนาแน่นไปด้วยไฟโบรบลาสต์และเส้นใยคอลลาเจน  ซึ่งจะค่อย ๆ เรียงตัวให้อยู่ในแนวที่รับ
ความตึงเครียดได้ดีที่สุด  เพื่อให้บาดแผลที่หายแล้ว มีความแข็งแรงเหมือนเดิม




กำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ


นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ค้นพบความลับของวงจรชีวิตของจระเข้แอลลิเกเตอร์  คือแอลลิเกเตอร์
สามารถกำหนดเพศของลูกน้อยได้ด้วยอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว  หากไข่ของมันถูกเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
กว่า 86 องศาฟาเรนไฮต์ ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของการฟักไข่  ไข่เหล่านี้จะฟักออกเป็นตัวเมียทั้งหมด
และไข่ที่ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักออกมาเป็นตัวผู้ทั้งหมด ส่วนไข่ที่เก็บไว้ที่
อุณหภูมิระหว่าง 86-94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย
 นักวิจัยได้เริ่มสังเกตเห็นความลับนี้จากการเฝ้าดู เขาพบว่าจระเข้ที่วางไข่ในหนองบึงเฉอะแฉะเย็น
ชื้น ไข่จะฟักเป็นตัวเมีย ส่วนไข่ที่วางบนฝั่งที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึงจะออกมาเป็นตัวผู้ ปริศนาที่ว่าทำไมอุณหภูมิ
จึงกำหนดเพศได้ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าขณะที่อุณหภูมิสูนั้นตัวอ่อนจะใช้ไข่แดงหมดไปอย่างรวดเร็วจน
เหลืออาหารน้อยไม่เพียงพอแก่การพัฒนาไข่เป็นเพศเมีย




ประโยชน์ของฟ้าแลบ


สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประมาณไว้ว่า  ในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจน
ตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี
 ในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบ  พลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับ
ออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) สารประกอบนี้มีไนโตรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน
1 อะตอม มันจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไป  และกลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)

ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3)  ตกลงมายังพื้นโลก  เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสาร 
 เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืช
 ดังนั้น  ถึงคนขวัญอ่อนจะไม่ค่อยชอบฟ้าแลบนัก  แต่ก็ควรทำใจสักนิดให้ชอบสักหน่อยเพราะมีผล
ดีต่อชาวนาที่ผลิตพืชผักผลไม้มาให้เรากินอยู่ทุก ๆ วัน


ถัดไป >>>


วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิทยาศาสตร์น่ารู้

             วิทยาศาสตร์น่ารู้

ทำไมพริกจึงเผ็ด ?


ความเผ็ดร้อนเกิดจากกรดชนิดหนึ่งเรียกว่าแคปไซซิน  ซึ่งอยู่ที่ผิวด้านในของ
ฝักพริก  หลายคนเข้าใจผิดว่าเม็ดพริกก็เผ็ดเหมือนกัน  ทั้งที่ตามจริงไม่มีแคปไซซินเลย  อย่างไรก็ตาม
กรดชนิดนี้กระจายอยู่ในยวงที่มีเม็ดพริกติดอยู่  เมื่อแกะเม็ดพริกออก  เนื้อพริกในส่วนนี้ก็จะติดมาด้วย
และทำให้เผ็ดน้อยลง
 แม้แคปไซซินจะให้รสเผ็ดถึงใจก็ตาม  พริกแต่ละเม็ดมีกรดชนิดนี้อยู่เพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น


ทำไมรอยฟกช้ำจึงมีสีคล้ำดำเขียว ?


เมื่อร่างกายเราถูกกระแทกหรือถูกตีอย่างแรงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง  จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณ
นั้นแตก  เลือดจะไหลซึมออกมานองอยู่ใต้ผิวหนัง  ทำให้ผิวหนังปูดออก  บริเวณที่เลือดไหลนองนี้อยู่ลึก
ถัดไปจากหนังกำพร้าชั้นใน  ถ้าถูกกระแทกใหม่ ๆ จะเป็นรอยแดงจาง ๆ เมื่อผ่านวันไปจะมีสีคล้ำขึ้น
 การที่เราเห็นเป็นสีคล้ำเขียวก็เพราะแสงที่ส่องกระทบรอยฟกช้ำนั้นสะท้อนมาเข้าตาเรา  ก่อนที่
แสงจะมาเข้าตาเรา  แสงจะต้องผ่านชั้นต่าง ๆ ของผิวหนัง  กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะดูดซับแสง
สีแดงไว้  ส่วนแสงสีน้ำเงินถึงแสงสีม่วงจะไม่ถูกดูดซับ  เราจึงเห็นเป็นสีม่วงคล้ำบริเวณนั้น  ยิ่งรอยฟกช้ำ
ขยายตัวลึกเข้าไปมากเพียงใด  แสงก็จะถูกดูดซับมากขึ้น  เราก็จะยิ่งเห็นรอยฟกช้ำคล้ำมากขึ้น
 ร่างกายจะพยายามกำจัดเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวที่ถูกทำลายแล้ว  รวมทั้งชิ้นส่วนเซลล์
ที่แตกหลุดออกมา  เม็ดเลือดแดงจะสลายตัวมีสีซีดลงจนเหลือง  และสุดท้ายเม็ดเลือดขาวจะมากลืนกินสิ่ง
เหล่านี้  เพื่อทำความสะอาด  ในที่สุดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเข้าสู่สภาพเดิม

ถัดไป >>>

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุป

การทำงานของสมอง ตั้งแต่ระดับเซลล์ประสาทจนถึงหน้าที่ต่าง ๆ ของสมอง การทำงานของเซลล์ประสาทซึ่งมีอยู่ 1 แสนล้านเซลล์ ใช้ระบบสารเคมี ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เซลล์ประสาทตัวที่หนึ่งอาจจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทตัวที่สอง และเซลล์ประสาท ตัวที่สาม อาจจะยับยั้ง การทำงาน ของเซลล์ประสาทตัวที่สอง ผลลัพท์ระหว่างการกระตุ้น และการยับยั้งจะสั่งให้เซลล์ประสาท ทำงาน ซึ่งจะเป็นการกระตุ้น หรือยับยั้งก็ได้
เซลล์ประสาทเหล่านี้จะทำงานกัน เป็นกลุ่ม เซลล์ประสาท 1 ตัวจะติดต่อกับ เซลล์ประสาทอื่นเป็นหมื่น ๆ เซลล์ โดยผ่านทาง เส้นใยประสาท และจุดเชื่อมต่อ เซลล์ประสาท เหล่านี้จะรับความรู้สึก และบอกได้ว่าส่วนใดของร่างกายได้รับความรู้สึก เพราะสมองคนเรา มีแผนที่ในสมอง เช่น เดียวกับการสั่งให้กล้ามเนื้อทำงาน สมองก็จะมีแผนที่สั่งให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีการเคลื่อนไหว
สำหรับการมองเห็น และการได้ยิน อาศัยข้อมูลจากภายนอกเข้ามาในสมองผ่านทางประสาทตา หรือประสาทหู ก่อให้เกิดคลื่นกระแสไฟฟ้า ในสมองส่วนที่ทำหน้าที่นั้น ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ไกลกัน แต่นำข้อมูลมาประกอบกัน เช่น การเห็นวงกลม เซลล์ประสาทแต่ละกลุ่ม จะเห็นเป็นเส้นโค้ง ๆ เมื่อมาประกอบกันเส้นโค้งเหล่านี้จะกลายเป็นวงกลม
ความฉลาด และความคิด เป็นเรื่อง ที่ไม่สามารถจะบอกได้ว่ามาจากส่วนใดของสมอง แต่ที่ทราบกันคือ นีโอคอร์เท็กซ์ หรือสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ทำหน้าที่นี้ ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยภายนอกให้ข้อมูลเข้าไป ถ้าหากเราเร่ง หรือกระตุ้นเด็กมากเกินไป หรือในทางตรงกันข้ามปล่อยปละละเลยไม่สนใจให้เด็กได้รับข้อมูลอย่างเหมาะสมตามวัย ก็จะทำให้มีปัญหาทางด้านสติปัญญา และความฉลาด
มีข้อมูลใหม่ ๆ พบว่าสมองเรามีความจำสมุดทด หรือ เวิร์กกิ้ง เมมโมรี่ (Working Memory) และความจำระยะยาว การให้ข้อมูลซ้ำ ๆ การท่องจำ จะทำให้จำได้ดี การที่สมองจะกำหนดว่าข้อมูลใดควรเก็บเป็นความจำระยะยาวขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ปัจจัย คือ อารมณ์ และข้อมูลที่เข้ามาใหม่ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลเดิม หรือความรู้เดิม หรือประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อน
ในเรื่อง การเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในช่วง 7 ปีแรก ของชีวิต หลังจากนั้นจะเป็นการเรียนรู้แบบนามธรรม และภาษาที่สลับซับซ้อน ซึ่งเป็นการทำงานของสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ เพราะต้องใช้ความคิด และความฉลาดในการ เรียนรู้ด้วย

ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)

9. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)
ระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วย ประสาท 2 ส่วน ที่เรียกว่า ซิมพาเทติก (Sympathetic) และ พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมการทำงาน ของเส้นเลือด ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ ม่านตา การไหลของ เหงื่อ น้ำตา และน้ำลาย การเคลื่อนไหวของลำไส้ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะ และความผิดปกติทางเพศ การทำงานต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้นจะต้องอาศัยการ ทำงานที่ได้สมดุลของ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งสองระบบ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานโดยผ่านการหลั่งสารเคมีที่สำคัญ คือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) และ นอเอพิเนฟริน (Norepinephrine) สมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของประสาทอัตโนมัตินี้จะอยู่ที่สมองด้านหลัง หรือส่วนที่เป็น แกนกลางของสมอง ซึ่งจะมีกลุ่มของเซลล์ประสาท ที่อยู่นอกเหนือจากสมอง และไขสันหลัง นอกจากกลุ่มของเซลล์ประสาทที่อยู่ที่แกนสมอง ที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติแล้ว ยังมีการควบคุม การทำงานของเซลล์ประสาทเหล่านี้จากสมองส่วนเหนือขึ้นไป ซึ่งจะมาจากสมองส่วนหน้า คือ ฟรอนทอลโลบ สมองส่วนที่เกี่ยวกับ อารมณ์ และสมองส่วนกลาง ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบต่อมไร้ท่อ
ตัวอย่างการทำงาน ของระบบประสาทอัตโนมัติที่มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ เช่น หากคนเรา หรือสัตว์เกิดความกลัว เตรียมพร้อมที่จะหนี หรือจะสู้ อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะตอบสนองโดยสมองจะอยู่ในภาวะตื่นตัว การเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ม่านตาจะขยาย ระบบลำไส้จะทำงานน้อยลง อาจจะมีเหงื่อออกมาก ถ้าเป็นสัตว์ก็จะแสดงอาการขู่คำราม ขนลุกชัน เตรียมพร้อมที่จะสู้ หรือหนี ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้เป็น ปฏิกริยาตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ
แต่ถ้าสัตว์ หรือคนเราอยู่ในภาวะที่ผ่อนคลาย ไม่มีความกลัว หรือเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ ระบบการเต้นของหัวใจจะเต้นอย่าง สม่ำเสมอ ระบบการหายใจเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ระบบทางเดินอาหารเกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำไส้อย่างราบรื่นสมบูรณ์
การควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก ยังควบคุมผ่านการทำงานของต่อมหมวกไตด้วย ต่อมนี้จะหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า เอพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ อะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งมีหน้าที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ม่านตาขยาย คือมีการทำงานของระบบซิมพาเทติกเพิ่มมากขึ้น ถ้าเกิดความกลัวมาก ๆ ระบบขับถ่ายก็จะหยุดทำงานด้วย หรือหากกลัว มากเกินไป ก็ไม่สามารถจะยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ ของระบบขับถ่ายได้ เพราะฉะนั้นคนบางคนจะกลัวจน ปัสสาวะอุจจาระราด จะเห็นว่าอาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลการทำงาน ของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีระบบประสาท อีกส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่สำคัญเช่น กัน ในการควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย สมองส่วนนี้เรียกว่า ไฮโปทาลามัส ซึ่งจะอยู่ใกล้ ๆ กับสมองส่วนลิมบิก หรือสมองส่วนของอารมณ์
สมองส่วนไฮโปทาลามัส จะควบคุมอวัยวะภายในร่างกายผ่าน ทางระบบประสาทอัตโนมัติที่กล่าวไปแล้ว และควบคุมระบบต่อมไร้ท่อ ที่สร้างฮอร์โมนที่จะไปควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างเช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต นอกจากนั้นยังควบคุมความสมดุลของน้ำ ให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้มีปริมาณของน้ำ และเกลือแร่ที่สมดุลในร่างกาย ควบคุมการกินที่ทำให้กินจุมากน้อย ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น หรือต่ำลง ควบคุมการนอนหลับ
การควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อ โดยผ่านต่อมใต้สมอง ต่อมใต้สมอง จะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่ควบคุมต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล การทำงานที่เป็นปกติของต่อม ไร้ท่อเหล่านี้เป็นผลมาจาก การควบคุมระดับฮอร์โมน ในร่างกาย ให้อยู่ในระดับปกตินั่นเอง

สารเคมีในสมอง : สารสื่อนำประสาท Neurotransmitter

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการทำงานของเซลล์ประสาทเกิดจากปฏิกิริยาเคมี มีการหลั่งสารเคมี และเกิดประจุไฟฟ้า เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นใน เส้นใยประสาท ซึ่งจะส่งไปตามเซลล์ประสาทต่าง ๆ ทำให้เกิดปฏิกิริยาการทำงานของสมอง สารเคมีในสมองมีมากมาย หลายชนิด แต่จะขอกล่าวถึงเฉพาะสารเคมีที่สำคัญ คือ
  • อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) เป็นสารเคมีที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความจำ
  • เอนดอร์ฟิน (Endorphins) เป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึก ผ่อนคลายหายเจ็บปวด การทำงานของเอนดอร์ฟินที่เกิดขึ้นในสมอง จะคล้าย ๆ การทำงานของสาร หรือยามอร์ฟีน (Morphine) ที่ใช้ในทางการแพทย์ ในคนไข้ที่ได้รับความเจ็บปวดมาก ๆ เมื่อฉีดมอร์ฟีน เข้าไปจะทำให้ ความเจ็บปวดลดลง เกิดอาการผ่อนคลาย สารเอนดอร์ฟินในสมองก็มีการทำงานแบบนี้เช่น กัน
  • เมลาโทนิน (Melatonins) สารนี้จะทำให้คนเราหลับสบาย จึงมีการนำสารเมลาโทนิน มาช่วยทำให้นอนหลับ โดยเฉพาะคนที่เกิด อาการ เจ็ตแล็ก (jet lag) หรืออาการนอนไม่หลับเมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน และมีการเปลี่ยนเวลาจากซีกโลกหนึ่งไปอีก ซีกโลกหนึ่ง
    เซโรโตนิน (Serotonins) ถ้าสมองมีสารนี้ในระดับที่พอเหมาะ จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ถ้าหากมีระดับสารเซโรโตนินต่ำ ก็จะทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า
  • ซับสแทนซ์พี (Substance P) เป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึก เจ็บปวด สารตัวนี้จะเป็นตัวสื่อความเจ็บปวด และยาเช่น มอร์ฟีน หรือสารเอนดอร์ฟิน สามารถลดการทำงาน ของซับสแทนซ์พี ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดน้อยลง
นอกจากที่กล่าวมานี้ ยังมีสารเคมีอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งจะต้องทำงานประสานกัน และอยู่ในระดับสมดุล จึงจะทำให้ร่างกาย และสมองของเราอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

สมองของเราทำงานอย่างไร

1. ประสาทรับความรู้สึก
ประสาทรับความรู้สึกมีหลายแบบ ได้แก่ ความรู้สึกสัมผัสเบา ๆ ความรู้สึกสัมผัสอย่างรุนแรง ความรู้สึกอุณหภูมิร้อนเย็น หรือความรู้สึก เจ็บปวด เช่น ถูกเข็มฉีดยา ถูกมีดบาด หรือถูกหยิก ซึ่งเส้นประสาทต่าง ๆ ที่นำความรู้สึกเหล่านี้จะมีขนาดแตกต่างกันด้วย ความรู้สึก สัมผัสเบา ๆ จะนำโดยเส้นประสาทขนาดใหญ่ ที่มีไขมันห่อหุ้มมาก ในขณะที่ความรู้สึกเจ็บปวดนำโดย เส้นประสาทขนาดเล็ก ที่มีไขมันห่อหุ้มน้อย หรือไม่มีเลย ผิวหนังของคนเราจะมีประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ และนำส่งต่อไปยังเส้นประสาทผ่าน ไขสันหลัง ขึ้นไปยังก้านสมอง และขึ้นไปถึงสมองส่วนใหม่ หรือนีโอคอร์เท็กซ์ ส่วนที่เรียกว่า พารายทอลโลบ สมองข้างซ้ายจะรับความรู้สึก จากร่างกาย และใบหน้าทางซีกขวา ขณะที่สมองข้างขวาจะรับความรู้สึกจากร่างกาย และใบหน้าทางซีกซ้าย ในสมองคนเราจะมีแผนที่ว่า ส่วนใดของสมองจะรับความรู้สึกจากส่วนใดของร่างกาย
ped brain
2. การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การควบคุมการทำงานพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในเด็กแรกคลอด จะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ เด็กอายุ 1-2 เดือนจะไม่ ไขว่คว้าของเล่น แต่ก็มีการเคลื่อนไหวของแขน ขา มือ และ เท้า ซึ่งสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และ สมองส่วนเบซาลแกงเกลีย ที่มีเส้นใยประสาท และไขมันค่อนข้างครบถ้วน เมื่อแรกคลอดจะทำหน้าที่พื้นฐานนี้
เมื่อเด็กโตขึ้นสมองมีการเจริญเติบโต พัฒนาการเพิ่มขึ้น ก็จะมีการทำงานอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่น เด็ก 4-5 เดือนก็จะเริ่มไขว่คว้า ของเล่น ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานของประสาทการเห็น และการทำงานของกล้ามเนื้อ สมองส่วนหลังของฟรอนทอลโลบ ที่ติดกับ พารายทอลโลบ จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกาย เช่น สั่งให้ยกมือขึ้นไปจับของเล่น
การควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อก็เป็นเช่น เดียวกับ ประสาทการรับความรู้สึกโดยที่จะมีแผนที่ในสมอง สมองข้างซ้าย จะควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อข้างขวา ส่วนสมองข้างขวาจะควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อข้างซ้าย รวมถึงกล้ามเนื้อใบหน้า การหลับตา การขยับปาก และแขนขาด้วยเช่น กัน คนไข้ที่มีเส้นเลือดตีบ เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองบางส่วนได้ สมองส่วนนั้นก็จะหยุดทำงาน คนไข้จะเป็นอัมพาต ไม่สามารถจะขยับแขนขาข้างตรงข้ามกับสมองที่ขาดเลือดได้
การทำงานของกล้ามเนื้อ แบ่งออกเป็น การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ตัวอย่างของการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน การยกมือ การขยับแขนขา การขึ้นลงบันได การถีบจักรยาน ในขณะที่การทำงานของ กล้ามเนื้อมัดเล็กจะเกี่ยวข้องกับการเขียนหนังสือ การติดกระดุม การผูกเชือก การวาดรูป การทำงานฝีมือ การทำงานเหล่านี้ถ้าหากขาดการฝึกฝนตั้งแต่เล็ก ก็จะทำให้ไม่มีทักษะนั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นทักษะการทำงาน ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือทักษะการทำงานของ กล้ามเนื้อมัดเล็กก็ได้
3. การมองเห็น
สมองจะต้องอาศัยการมองเห็นภาพ ซึ่งจะนำไปสู่สมอง ด้วยเส้นประสาทตา และหลังจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็น หรือ ออกซิปิทอลโลบ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของสมอง จะพัฒนาโครงสร้าง ที่จะตอบรับภาพ และแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย โดยอาศัย นีโอคอร์เท็กซ์ และสมองส่วนหน้า การมองเห็นเป็นการทำงานที่ละเอียดอ่อน จะเห็นว่าประสาทตามีเส้นใยประสาท 1 ล้านเส้นใย เทียบกับประสาทหู ซึ่งมีเส้นใยประสาทเพียง 50,000 เส้นใยเท่านั้น
นักวิจัยได้อธิบายถึงเรื่อง การมองเห็นว่า เริ่มด้วยข้อมูล หรือแสงไฟ หรือภาพต่าง ๆ เข้าสู่สายตา ผ่านไปยังจอภาพข้างหลังตา ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ประสาท ต่อจากนั้นเซลล์ประสาทก็จะส่งข้อมูลไปยัง สมองที่เกี่ยวกับ การเห็น หรือออกซิปิทอลโลบ โดยผ่านทางเส้นใยประสาท ผ่านซีนแนปส์ หรือจุดเชื่อมต่อ ทำให้เกิดปฏิกิริยาสร้างสารเคมี และเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น การมองเห็นภาพ เป็นส่วนหนึ่งของความคิด แม้กระทั่งคนตาบอดมาตั้งแต่กำเนิดก็สามารถจะคิดจินตนาการรูปภาพได้ การมองเห็นจึงขึ้นอยู่กับ การทำงานของสมอง หรือสมองที่กำลังทำงานอยู่ ในขณะเดียวกันสมองก็ตอบสนอง ต่อการมองเห็นเพราะว่า ตากำลังทำงานอยู่ นักวิจัยยังค้นพบอีกว่า สมองพยายามที่จะสร้างแผนที่เกี่ยวกับ การมองเห็นขึ้นมาในสมอง โดยเฉพาะถ้าหากว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งขาดไป เช่น ถ้าหากเรามอง รูปภาพวงกลมมีเส้นโค้งขาดเป็นช่วง ๆ สมองก็จะพยายามเอาข้อมูลมาใส่ตรงช่องว่างที่หายไป ทำให้เกิดภาพของวงกลม การเห็นภาพต่าง ๆ ของเราเกิดจากตาประมาณ 20 % ในขณะที่อีก 80 % เกิดจากการทำงานของสมองส่วนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การเห็น ข้อมูลเกี่ยวกับ การเห็นจะไปรวมกันที่ศูนย์กลางของการเห็น ที่อยู่ตรงส่วนกลางของสมองที่เรียกว่า แลทเทอรอล เจนนิคูเลท นิวเคลียส (Lateral Geniculate Nucleus-LGN) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ การเห็น มาทูรานา และวาเรรา ยังบอกอีกว่า เรามองเห็นผลส้มเป็นสีส้มได้แม้ว่า ในขณะนั้นจะไม่มีคลื่นแสงที่ทำให้เกิดสีส้มเลยก็ตาม เพราะสมองได้เก็บข้อมูลเหล่านี้เอาไว้ก่อนแล้ว และแปลผลออกมาเป็นสีส้ม
จากการทดลองยังพบอีกว่า ในขณะที่เรามองหน้าคนคนหนึ่ง สมองของเราส่วนที่มองเห็นใบหน้าจะแปลภาพออกมาว่า นี่คือ ใบหน้า และสมองส่วนอื่น แปลสีหน้าของคนคนนั้นว่า เป็นอย่างไร เช่น มีความสุข เศร้า หรือ โกรธ ในขณะที่สมองอีกส่วนก็จะเชื่อมข้อมูลว่า คนหน้าตาแบบนี้คือใคร แล้วเอาข้อมูลต่าง ๆ มาผสมกันออกมาว่าคนหน้าตาอย่างนี้คือใคร ชื่ออะไร กำลังดีใจ หรือเสียใจ หรือมีอารมณ์ อย่างไร เด็กเล็ก ๆ สามารถตอบสนองต่อวัตถุที่สัมผัสก่อน จะเห็นวัตถุนั้นด้วยซ้ำไป ข้อมูลจากประสาทสัมผัส อื่นที่ไม่ใช่สายตา ก็สามารถส่ง ข้อมูลเข้าไป ในสมองส่วนต่าง ๆ ที่เป็นแผนที่ และช่วยให้สมองสร้างภาพได้เช่น กัน การสร้างภาพ หรือการมองเห็นภาพ จึงเกิดจาก สมองส่วนใดส่วนหนึ่งทำงาน
ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นภาพที่ต้องใช้ความคิด สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ก็จะทำงาน แต่ถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา เป็นภาพ เกี่ยวกับ อารมณ์ สมองส่วนที่เกี่ยวกับ อารมณ์ หรือลิมบิกเบรนก็จะทำหน้าที่ หรือถ้าเป็นภาพที่ค่อนข้างจะคงที่ และสามารถ ส่งข้อมูลเข้า สายตาสู่ประสาทตาโดยตรง ก็จะทำงานโดยสมองอาร์เบรน
นอกจากนั้นสมองยังมี ความสามารถ ที่จะจับจ้อง หรือเลือกมองเห็นเฉพาะสิ่งที่สนใจเท่านั้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ท่ามกลาง สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ก็ตาม

การเรียนรู้ภาษา การสร้างบุคลิกภาพ

7. การเรียนรู้ภาษา
ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ กล้ามเนื้อของเรามีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อเสียงแบบอัตโนมัติ ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งแต่เป็นทารก ในครรภ์อายุประมาณ 7 เดือน และหลังคลอดสมองก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที เพราะเส้นใยประสาท และระบบประสาท ทั้งหลายมีพร้อมอยู่แล้ว ต้องการเพียงแค่สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ก็จะเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น ต่อคำถามว่า เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ได้อย่างไร ก็ต้องรู้ว่าสมองเกี่ยวกับ การพูดทำงานอย่างไร การพูดของคนเราเกิดจากการทำงาน ของกลุ่มเซลล์ประสาท ที่ติดต่อถึงกัน เพื่อสร้างคำพูดขึ้นมา ซึ่งแต่ละคำอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับคำอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นในกลุ่มเซลล์ประสาทที่สร้างคำพูดนี้ ยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อที่จะใช้เรียกคำแต่ละคำ สิ่งของแต่ละสิ่ง เช่น ผลไม้ ดอกไม้ หน้าตา หรืออื่น ๆ ด้วยการทำงาน ติดต่อกันของกลุ่มเซลล์ประสาท ทั้งหมด หรือระหว่างกลุ่มเซลล์ประสาทกลุ่มย่อย ๆ นี้ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการใส่คำใหม่ ๆ เข้าไปในสมอง หรือเรียนรู้คำใหม่ ๆ ตลอดเวลา ซึ่งเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมโยง ระหว่าง กลุ่มเซลล์ประสาทกลุ่มเก่า กับกลุ่มใหม่อยู่ตลอดเวลา การติดต่อไปมาอย่างนี้ ในที่สุดสมองทุกส่วนก็จะล่วงรู้คำคำใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ในคนไข้ที่เป็นโรคสมองอักเสบ คือ มีความผิดปกติในเซลล์ประสาทกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทำให้เสียความสามารถ ในเรื่อง ของภาษาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเซลล์ประสาทกลุ่มนั้น ทำให้ไม่สามารถเรียกชื่อบางชื่อได้ เช่น ไม่สามารถจะเรียก "ดอกไม้" ได้ เพราะโรคสมองอักเสบ ได้ทำลาย กลุ่มเซลล์ประสาท ที่ทำหน้าที่เรียกคำว่า "ดอกไม้"
ในเรื่อง ความเข้าใจภาษานั้น สังเกตได้จากการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ของเรา คือ เมื่อเราได้รับการสอนให้อ่านออกแล้ว เราสามารถเกิดความเข้าใจข้อความที่อ่านทั้งหมดแม้ว่าในข้อความนั้นอาจจะมีคำใหม่ ๆ บางคำที่เราไม่เข้าใจแทรกอยู่ก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้องไปเปิดพจนานุกรมดูความหมายคำที่ไม่เข้าใจ สมองจะพยายามใช้ความเข้าใจประโยคทั้งหมดเพื่อจะแปลคำใหม่นี้ หลังจากที่แปล คำใหม่ได้แล้ว สมองจะพยายามเก็บคำใหม่นี้ไว้ในสมอง
ส่วนในเรื่อง การออกเสียง จะพบว่าการออกเสียงที่เรียกว่า โฟเนติก (Phonetic) คือ การเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ๆ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ถึงแม้ภาษาที่คนทั่วโลกใช้จะมีเป็นพัน ๆ ภาษา แต่ว่าแต่ละภาษาสร้างขึ้นจากการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ๆ ประมาณแค่ 50 เสียงเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับเลขคณิตที่ใช้ตัวเลขแค่ 0-9
สำหรับการเขียนจะมีความสลับซับซ้อน เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย การทำงานของสมองในการเขียนยังต้องอาศัยการเชื่อมโยงของคำ แต่ละคำเช่น เดียวกับการพูด นอกจากนั้นยังต้องอาศัยทักษะ และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือด้วย
ความจริงเราไม่จำเป็น ต้องสอนภาษาให้เด็กทารก หรือเด็กเล็ก ๆ เพราะการเรียนรู้ภาษาจะเป็นไปโดยอัตโนมัติเหมือนกับฟันขึ้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือเด็กจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่มีการพูดคุย มีข้อมูลทางด้านภาษาป้อนเข้าไปอยู่ตลอดเวลา เด็กทารกที่มีแม่เป็นใบ้ และหูหนวกจะไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด และไม่สามารถพูดได้จนกว่า จะได้รับการเลี้ยงดู จากคนเลี้ยงที่พูดได้ จะเห็นได้ว่าธรรมชาติมีความสำคัญแต่สิ่งแวดล้อมก็สำคัญไม่แพ้กันด้วย
การที่เด็กสามารถเรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ป้อนเข้าไป เมื่อเราบอกเด็กว่าสิ่งต่าง ๆ เรียกว่าอะไร ข้อมูลเหล่านี้ก็จะเข้าไป อยู่ในเส้นใยประสาท กลุ่มของเซลล์ประสาทที่เป็นรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง เด็กจะรับรู้ว่ารูปร่างหน้าตาแบบนี้เรียกว่าอย่างนี้ เช่น แท่งยาว ๆ ที่ใช้เขียนได้ เรียกว่า ปากกา ยิ่งกว่านั้นขณะที่พ่อแม่บอกชื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ มีการแสดงความรู้สึกต่อสิ่งนั้นด้วย เช่น ถ้าเด็กชี้ไปที่ดอกไม้ และถามว่าอะไร พ่อแม่จะยิ้ม และบอกว่า "ดอกไม้" ซึ่งทำให้เด็กรู้ว่าพ่อแม่ชอบดอกไม้ ดอกไม้เป็นสิ่งที่พ่อแม่พอใจ ข้อมูลนี้ก็จะถูกเก็บเข้าไปในสมองเช่น กัน หรือถ้าลูกถามว่านี่อะไรแล้วชี้ไปที่สุนัขตัวใหญ่ ตัวสกปรก น่ากลัว พ่อแม่ทำหน้าตาว่า น่ากลัวแล้วบอกว่า "อย่าเข้าไปใกล้นะ น่ากลัว เดี๋ยวมันกัดเอา" ใส่ความรู้สึกน่ากลัวเข้าไปด้วย เด็กก็จะรับข้อมูลทั้งหลายนี้ เข้าไปเก็บไว้ในสมองด้วย หลังจากนั้นเมื่อเราเอ่ยชื่อ ของ หรือสิ่งบางสิ่ง เด็กจะนึกถึงของ หรือสิ่งนั้น พยายามมองหาสิ่งนั้น การที่ผู้ใหญ่เอ่ยชื่อวัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ เป็นการกระตุ้นเครือข่ายเซลล์ประสาทของเด็ก ทำให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ ตั้งแต่แรกในสมอง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าความจำนั่นเอง นี่คือพื้นฐานของการเรียนรู้ จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ และเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งต่อการเรียนรู้ภาษาด้วย
8. การสร้างบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของแต่ละคน จะเป็นสิ่งประจำตัวของคนคนนั้น ที่ทำให้แตกต่างจากคนอื่น และมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จะประกอบกัน ทำให้คนแต่ละคน มีบุคลิกภาพเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานประสานกัน ของสมองที่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และประสบการณ์ ที่ได้รับ จากสิ่งแวดล้อม
บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของตัวเอง เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่า ขณะนี้ตัวเราเป็นคนอย่างไร และเราจะไม่มีทางเข้าใจว่าขณะนี้เราเป็นคนอย่างไร ถ้าไม่รู้ว่าเราควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุด เราจะต้องค้นพบตัวเอง และเป็นตัวของตัวเอง
ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ และความสามารถในการรู้ตัวเอง (Self Awareness) ถือเป็นความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะรู้ตัวเอง หรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถที่จะจัดการ และควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Self Efficacy) คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจในการมี พฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำจะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัว และประสิทธิภาพส่วนตัวนี้เองจะรวมกันเป็นบุคลิกภาพขึ้น

ความจำ

6. ความจำ
ดร.วิลเดอร์ เพนฟิลด์ (Dr.Wilder Penfield) แพทย์ผ่าตัดสมองที่มีชื่อเสียงมาก ได้ผ่าตัดสมองคนไข้ประมาณ 1,500 คน และทำการเลื่อยเปิด กะโหลกศีรษะออก โดยไม่ได้ใช้ยาสลบแต่ใช้ยาชา คนไข้ตื่นตลอดเวลาแต่ไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย เมื่อ ดร.เพนฟิลด์ ใช้เข็มจี้ที่สมอง เพราะว่าเนื้อสมองจะไม่มีอวัยวะรับความรู้สึก สิ่งนี้ทำให้เขาได้ค้นพบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ สมอง
นักวิจัยได้เสนอ ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับ เรื่อง ความจำ เรารู้ว่าเซลล์ประสาทเซลล์เดียวไม่สามารถจะมีความจำที่เฉพาะเจาะจงได้ จะต้องเป็นการทำงานของกลุ่มเซลล์ประสาท แต่การทดลองของ ดร.เพนฟิลด์ แสดงให้เห็นว่าเซลล์ประสาท 1 เซลล์ สามารถที่จะมีความจำเฉพาะเจาะจงได้ เซลล์ประสาทนี้เป็นเซลล์ที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง หรือ ทาร์เก็ตเซลล์ (target cell) แล้วเซลล์ประสาทนี้เองเป็นจุดรวมของกลุ่มของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์รวมกัน ทำงาน เพื่อที่จะสร้างความจำขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งทาร์เก็ต เซลล์ และกลุ่มของเซลล์ประสาทนี้ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ใหญ่ต่อไปอีก และแต่ละเครือข่ายก็จะมีปฏิกิริยาซึ่งกัน และกัน กลุ่มของเซลล์ประสาทกลุ่มนี้จะติดต่อกับเซลล์ประสาทกลุ่มอื่น มีเส้นใยประสาทที่ติดต่อถึงกันอย่างสลับซับซ้อน ซึ่งผลลัพท์ของการเชื่อมโยง ของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์นี้เองทำให้มีประจุไฟฟ้าสูงสุดในกลุ่มของเซลล์ประสาท (Peak Of Activity In Population Of Neuron) และผลก็คือ เกิดความจำ
เซลล์ประสาทที่เป็นเป้าหมาย หรือทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง หรือเป็นกุญแจสำคัญอาจจะเป็นตัวเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติส่วนตัว อย่างไรก็ตาม เซลล์ประสาทเหล่านี้คงมีไม่เกิน 1 ล้านเซลล์ เพราะโดยทั่วไปสมองเราจะมีเซลล์ประสาทอยู่ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ แสดงว่า เซลล์ประสาท เหล่านี้จะมีไม่เกิน 0.000001 % ซึ่งสมอง ไม่สามารถไปดึงข้อมูลออกมาจากเซลล์ประสาทเซลล์เดียวได้ โดยทั่วไปเราจะดึงข้อมูล ออกมาจาก กลุ่มเซลล์ประสาททั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความจำ ซึ่งความจำนี้ค่อนข้างจะลางเลือน ไม่ชัดเจนเหมือนกับที่ ดร.เพนฟิลด์ ทำการกระตุ้นเซลล์ประสาท 1 เซลล์
ความจำของคนเรายังมีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เวิร์กกิ้งเมมโมรี่ (Working Memory) ซึ่งเป็นความจำระยะสั้น ที่เมื่อได้รับข้อมูลมาแล้ว ก็จะเอาข้อมูลนี้มาใช้ในการทำงาน หรือส่งไปเก็บ หากว่าเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยเห็น หรือเรียนรู้มาก่อน สมองส่วนที่ทำงานในเรื่อง ของความจำแรกเริ่มเมื่อได้รับข้อมูลที่เรียกว่า เวิร์กกิ้งเมมโมรี่ นี้ (ซึ่งอยู่ในสมองด้านหน้าทางขวา และทางซ้าย อยู่ลึกเข้าไป 1 นิ้ว จากหน้าผาก มีขนาดเท่าแสตมป์ หรือมีขนาดไม่เกิน 1 นิ้ว) ก็จะทำหน้าที่เป็นสมุดทดชั่วคราวในสมอง ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง กลิ่น ข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งมาที่สมองส่วนนี้ก่อน หลังจากนั้นถ้าหากไม่ถูกใช้ก็จะถูกลบทิ้งไป หรือหากต้องการเก็บไว้เป็นความจำระยะยาวก็จะส่งต่อไปยังสมองส่วนลึกลงไป คือ ฮิปโปแคมปัส ที่ทำหน้าที่เก็บความจำระยะยาว
เช่น เดียวกัน ถ้าเราต้องการจะนึกถึงหมายเลขโทรศัพท์ หรือเมื่อเห็นหน้าคนคนหนึ่งแล้วพยายามจะนึกว่าคนนี้คือใคร หรือถ้าเราต้องการ คิดเลข หรือเขียนหนังสือให้เป็นประโยค ก็ต้องใช้สมองส่วนเวิร์กกิ้งเมมโมรี่นี้เช่น กัน คือ จะต้องส่งข้อมูล ไปที่สมองส่วนนี้ เพื่อจะลงไปที่สมองส่วนลึกลงไปเพื่อจะค้นหาข้อมูลที่ต้องการ เพราะฉะนั้น สมองส่วนนี้ จึงเรียกว่า ช็อตเทอมเมมโมรี่ (Short Term Memory) หรือ ออนไลน์เมมโมรี่ (On Line Memory) หรือเป็นกระดานดำของสมอง
อย่างที่กล่าวแล้วว่า สมองส่วนหน้า ที่เป็นเวิร์กกิ้งเมมโมรี่ หรือเป็นเสมือนสมุดทดของสมอง หากพบข้อมูลใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น พบคนแปลกหน้า ก็พยายามเก็บข้อมูลนี้ไว้ โดยจะเกิดประจุไฟฟ้าที่สมองส่วนนี้ แล้วส่งต่อไปยังสมองส่วนที่อยู่ลึกลงไป ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความจำระยะยาว ซึ่งเมื่อเราต้องการพยายามนึกหน้าคนคนนี้ซึ่งเราจำได้ว่าเคยเห็นหน้ามาก่อน แต่จำไม่ได้ว่าชื่ออะไร กระแสไฟฟ้าจากสมอง ที่เก็บความจำระยะยาว (Long Term Memory) หรือ สมองส่วนที่ลึกลงไปในสมอง ที่เก็บข้อมูลระยะยาว คือ ที่ฮิปโปแคมปัสทั้งสองข้าง ก็จะส่งกระแสไฟฟ้ากลับขึ้นมาที่ เวิร์กกิ้งเมมโมรี่ หรือสมุดทดตรงนี้เพื่อบอกข้อมูล แล้วส่งต่อไปยังสมองส่วนอื่นที่จะบอกให้รู้ว่าคนคนนี้คือใคร
เราอาจเปรียบเทียบสมองเรา เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่มีความคล้ายคลึงกันมาก เรามีความจำ ระยะสั้นที่จะถูกลบหายไป กับความจำระยะยาวที่เราจะเก็บไว้ จริง ๆ แล้วเราอยากจะเก็บข้อมูลทุกอย่าง แต่ก็ไม่สามารถเก็บได้หมด ข้อมูลส่วนใหญ่ที่เรารับรู้เข้ามาจะลอยไปลอยมาอยู่ในเวิร์กกิ้งเมมโมรี่ หรือถ้าเทียบกับคอมพิวเตอร์ก็คือ แรม (RAM - Random Access Memory) นั่นเอง แต่ความจำระยะสั้นในสมองจะหายไปได้ ในขณะที่ข้อมูลในแรมของคอมพิวเตอร์ยังคงอยู่ แรม หรือเวิร์กกิ้งเมมโมรี่ จะทำให้เราสามารถคิดเลขคณิตง่าย ๆ ในใจได้ หรือจำตัวเลขง่าย ๆ ได้ แต่ก็จำได้แค่ระยะสั้น ๆ เหมือนที่เราหมุนหมายเลขโทรศัพท์ หลังจากนั้น เราก็จะลืม ความจำระยะยาวก็เหมือนฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) ในคอมพิวเตอร์ ทุกครั้งที่เราได้รับข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไป กลุ่มของเซลล์ประสาทจะถูกกระตุ้น ถ้าหากว่าเราได้รับข้อมูลนั้นซ้ำ ๆ กลุ่มเซลล์ประสาทเดิม จะถูกกระตุ้นซ้ำ ๆ ก็จะทำให้เรามี ความจำระยะยาวได้ แต่ถ้าหากเราได้รับข้อมูลนั้นเข้าไปเพียงครั้งเดียว และเราไม่ได้ใช้อีกเลย ข้อมูลก็จะถูกลบเลือนหายไป แต่ข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ยังอยู่ เราสามารถเก็บข้อมูลที่ได้รับเข้ามา ให้เป็นความจำระยะยาว ได้ด้วยการท่องจำข้อมูลนั้นซ้ำ ๆ แต่การตัดสินว่าจะเก็บข้อมูล หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัส หรือสมองที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ อารมณ์ทั้งข้างซ้าย และข้างขวา สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เหมือนคีย์บอร์ด ของคอมพิวเตอร์ที่เราจะกด ให้เก็บข้อมูล หรือไม่เก็บข้อมูล และการที่ฮิปโปแคมปัส จะตัดสินว่า จะเก็บข้อมูลนี้ เป็นความจำระยะยาว หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยแรก คือ ข้อมูลนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอารมณ์ หรือไม่ ปัจจัยที่สอง คือ ข้อมูลที่เข้ามาใหม่มีความเกี่ยวข้อง กับข้อมูลที่รู้แล้ว หรือไม่ ซึ่งต่างจากคอมพิวเตอร์ คือ ถ้าเราเก็บข้อมูลใหม่ ไม่ว่าจะมี ความเกี่ยวข้องกับข้อมูล ที่มีอยู่แล้ว หรือไม่ คอมพิวเตอร์ก็จะเซฟข้อมูลไว้หมด แต่สมองเราไม่เป็นเช่น นั้น การที่เราเลือกเก็บข้อมูล ที่น่าสนใจเป็นสิ่งดี เพราะเรา ไม่สามารถ เก็บทุกอย่าง ไว้ในสมองได้หมด ถ้าเราเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ในสมอง เราจะไม่สามารถมุ่ง ความสนใจ หรือมีความตั้งใจกับสิ่งใดได้
เพราะฉะนั้นหน้าที่เลือกเก็บข้อมูลของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น สมองส่วนนี้จะค่อย ๆ ฝ่อไป ลดการทำงานลง ดังนั้นคนอายุน้อย จะมีความจำดีกว่า คนอายุมาก อย่างไรก็ตามยังนับว่าโชคดีที่สมองในสภาวะปกติ ถึงแม้ว่า ความจำ จะมีการเสื่อมสภาพเล็กน้อย แต่ก็ไม่มากพอที่จะลดประสิทธิภาพในการทำงาน หรือในการใช้ชีวิตประจำวันลง นอกจาก ในคนที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) โรคของเส้นเลือดที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนี้ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้มีอาการหลงลืมผิดปกติ

การได้ยิน

4. การได้ยิน
เมื่อเด็กอายุประมาณ 1 ปี สมองมีการสร้างแผนที่การได้ยินอย่างสมบูรณ์ เช่น เสียงนี้เซลล์ประสาทส่วนนี้รับผิดชอบ อีกเสียงหนึ่ง เซลล์ประสาท อีกที่รับผิดชอบ เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะไม่สามารถแยกเสียงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ เพราะจะไม่มีเซลล์ประสาท ที่ตอบสนองต่อเสียงนั้น เนื่องจากไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะฉะนั้นการที่เด็กยิ่งโตการเรียนรู้ภาษา ก็จะเป็นได้ยากขึ้น เนื่องจาก ไม่มีเซลล์ประสาท ที่ยังไม่ถูกจัด แผนที่เหลืออยู่ หรือไม่มีเซลล์ประสาทที่ยังไม่ถูกใช้งานไปใช้เรียนรู้ภาษา หรือคำใหม่ ๆ ได้ การเรียนรู้คำศัพท์ก็เช่น กัน ถ้าเด็กเล็ก ๆ มีแม่เป็นคนพูดเก่ง เด็กจะรู้คำศัพท์มากกว่าเด็กที่แม่ หรือพี่เลี้ยงพูดไม่เก่ง เช่น การวิจัยของ แจเนลเลน ฮัทเทนโลเคอร์ (Janellen Huttenlocher) จากมหาวิทยาลัยชิคาโก พบว่า เด็กอายุ 20 เดือน ถ้าหากมีแม่คุยเก่ง เด็กก็จะรู้คำศัพท์มากถึง 131 คำ มากกว่าเด็กที่แม่พูดไม่เก่ง
ตอนยังเป็นทารกในครรภ์ เซลล์ประสาทก็มีความไวต่อการได้ยิน เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อวัยวะที่เกี่ยวกับ การได้ยินพัฒนา จนสมบูรณ์แบบแล้ว สมองส่วนที่เรียกว่า เทมโพราลโลบ ซึ่งอยู่ด้านข้างของสมองทั้งซ้าย และขวา เป็นสมองส่วนที่สำคัญที่สุด เกี่ยวกับ การได้ยิน คือมีหน้าที่ทำงานเกี่ยวกับ การได้ยิน พบว่าในสมองของเด็กแรกเกิด สมองส่วนนี้มีไขมัน หรือมันสมองห่อหุ้ม เส้นใยประสาท เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่สมองส่วนอื่นยังเพิ่งสร้างไขมัน หรือมันสมองห้อมล้อม เส้นใยประสาท ทารกในครรภ์ไม่เพียง ได้ยินเพียงอย่างเดียว แต่สามารถที่จะพยายามเลียนเสียง หรือเรียนรู้เกี่ยวกับ คำพูด พยายามขยับกล้ามเนื้อ ที่เกี่ยวกับ การออกเสียง โดยเฉพาะใน ลักษณะของการร้องไห้ด้วย ซึ่งทำให้เด็กสามารถร้องไห้ทันทีหลังคลอด คลื่นเสียงที่มาจากที่อื่น ๆ หรือรับมาจากประสาท ส่วนอื่น ก็จะส่งไปที่กลุ่มของประสาทสัมผัสที่อยู่ด้านในสุดของหู คลื่นที่เข้าไปนี้จะปรับเปลี่ยนคลื่นที่มีอยู่แล้วตามปกติ ทำให้เกิดเป็นคลื่นรูปต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ หนึ่ง คลื่นที่มีความถี่คงที่ สอง คลื่นที่มีความถี่เปลี่ยนแปลงไปมา ตลอดเวลา และสาม คลื่นที่เป็นผลลัพท์ระหว่างสองคลื่นแรก หลังจากมีการปรับตัวแล้ว คลื่นทั้งสามแบบนี้จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ออกมา เป็นความสูง ความลึก และความกว้าง สมองสามารถอ่าน หรือแปลข้อมูลของแสง และเสียงจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วในแผนที่ในสมอง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยู่ในห้องมืด ๆ และได้ยินเสียงจุดไม้ขีดไฟ เราจะมีความรู้สึกว่าได้กลิ่นกำมะถัน และเห็นแสงไฟ หมายความว่า ในโลกที่เรารู้จักนี้ เราสามารถจะบอกตำแหน่ง หรือความเป็นไปของ สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ได้จากผล 3 อย่าง คือ หนึ่ง ข้อมูล หรือคลื่น หรือกระแสไฟฟ้า จากสมองของเราเอง สอง ข้อมูล หรือคลื่น หรือกระแสไฟฟ้าจากโลกภายนอกที่เข้ามา และสาม คือผลรวมระหว่าง คลื่นทั้งสอง ผลลัพท์ของกระแสไฟฟ้าสูงสุด ท่ามกลางเซลล์ประสาทเหล่านี้ วัดจากประสาทสัมผัสทั่วร่างกาย
สมองส่วนลิมบิกเบรน หรือสมองส่วนอารมณ์ สามารถจะตอบสนองต่อคลื่นเสียงต่าง ๆ ที่เข้ามาถึงตัวเรา ด้วยการอาศัยความช่วยเหลือ จากนีโอคอร์เท็กซ์ หรือสมองส่วนใหม่แปลคลื่นเสียงออกมาโดยตรง
สมองส่วนลิมบิกเบรน หรือสมองส่วนอารมณ์กับสมองส่วนอาร์เบรน มีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด สมองส่วนลิมบิกเบรน จะรับรายงาน จากสมองส่วนอาร์เบรน ขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลไปที่นีโอคอร์เท็กซ์ด้วย ผลลัพท์ของการติดต่อระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ นี้จะส่งไปที่ประสาท รับการได้ยิน และการทรงตัวที่หูส่วนใน ซึ่งทำให้บอกได้ว่าเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยินมาจากที่ใด การได้ยินนี้เปรียบได้กับ การเห็น สายตาเรา จะส่งรูปภาพเข้าไปในสมอง แล้วสมองก็จะใส่ข้อมูลลงไปตามช่องว่าง และส่งข้อมูลกลับออกมา ทำให้เรามองเห็นภาพครบบริบูรณ์
5. สมองกับความฉลาด และความคิด
เราไม่สามารถบอกได้ว่า สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด แต่เชื่อกันว่า สมองส่วนใหม่ ที่เรียกว่า นีโอคอร์เท็กซ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด
ความฉลาด (Intelligence) เป็นสิ่งที่เราใช้ในการตัดสินใจเรื่อง ต่าง ๆ หรือเป็นสิ่งที่มาจาก สมอง และความรู้สึกนึกคิด ถ้าสมองยิ่ง สลับซับซ้อนมาก และพัฒนาได้สมบูรณ์ สมองจะมีความสามารถ ที่จะเรียนรู้ และมีประสบการณ์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เก็บข้อมูล ใส่กลับเข้าไปในสมอง ทำให้สมองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประสบการณ์ที่เราได้มานั้น ทำให้พฤติกรรมการตอบสนอง ของเราต่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย
สมองของเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก เซลล์ประสาทสามารถที่จะเก็บข้อมูล แปลข้อมูลที่เข้ามาเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้า แล้วเก็บไว้เป็น ประสบการณ์อยู่ในสมอง เปรียบได้กับ คลื่นไฟฟ้าที่โทรทัศน์รับเข้ามา แล้วแปลออกมาเป็นภาพบนจอให้เราเห็น คลื่นสมอง หรือคลื่นไฟฟ้าในสมองจะเป็นตัวกำหนดลักษณะ ของสิ่งที่เรารับรู้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพ สติปัญญา อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกตัว และอื่น ๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ยังสร้างสนามกระแสไฟฟ้าที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น สนามกระแสไฟฟ้าที่เฉพาะ สำหรับคณิตศาสตร์ หรือเฉพาะสำหรับดนตรี ศาสนา หรืออื่น ๆ ซึ่งจะรับแต่กระแสไฟฟ้าที่เหมือน ๆ กันเข้ามาอยู่ในสนามเดียวกัน
ทฤษฎีของขั้นตอนที่ทำให้คนเราเกิดความคิดที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างละเอียดว่า ขั้นตอนแรก เริ่มจากคนเราเกิดความคิดสร้างสรรค์ คิดโครงการ หลังจากนั้นจะประสบปัญหา ก็พยายามหาทางแก้ไขปัญหา บางครั้งอาจจะเหนื่อยล้าจนหมดกำลังใจ ถึงกับคิดจะยกเลิก โครงการ แต่ในที่สุดทางแก้ปัญหาที่ดี และถูกต้อง ก็ผุดขึ้นมาเองโดยไม่คาดฝัน ขั้นตอนเหล่านี้อธิบายได้ว่า ในสมองของเราขณะที่ เราเบื่อหน่าย และอยากจะเลิกทำสิ่งที่คิดไว้ จิตใต้สำนึกของเราก็ค่อย ๆ เอาชิ้นส่วนข้อมูลแต่ละอย่างมาประกอบกันเหมือนกับภาพต่อ แล้วในที่สุดก็ได้คำตอบออกมา
ความคิดริเริ่ม หรือความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ หรือศิลปินแบบนี้ เปรียบได้กับเด็กปัญญาอ่อนแต่มีความสามารถพิเศษ คือ อยู่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ หรือคำตอบก็ออกมาเอง โดยมีความแตกต่างอยู่ที่ว่า ความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์จะดำเนินต่อไปได้ ในขณะที่เด็กปัญญาอ่อนแต่มีความสามารถพิเศษ เพียงแค่รู้คำตอบแต่ไม่สามารถจะทำอะไรได้มากไปกว่านั้น
ความฉลาด หรือ ความสามารถเฉพาะด้านอย่างเช่น ภาษา เกิดจากวงจรของกระแสไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในสมองของเรานั่นเอง ซึ่งมาจากพัฒนาการของสมองที่นำเอาข้อมูลจากสิ่งกระตุ้น และการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเก็บเข้ามาเป็นโครงสร้างของความรู้ เหมือนเรา เก็บข้อมูล (save) ไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราสามารถจะเรียกขึ้นมาใช้เมื่อไรก็ได้ ธรรมชาติจะค่อย ๆ ทำให้เรามีความสามารถ หรือมีความฉลาดขึ้นเป็นลำดับ ตามช่วงเวลาของพัฒนาการ หรือระยะเวลาที่เหมาะสม
ถ้าหากเราดูแลในเรื่อง ของสติปัญญา หรือความฉลาดของเด็ก ไม่เหมาะสม โดยเร่งมากเกินไป หรือปล่อยปละไม่สนใจให้เด็ก ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมตามวัย จะทำให้มีปัญหาทางด้าน สติปัญญา หรือความฉลาดได้ เปรียบเสมือนเนื้อสเต็ก ไม่เหมาะที่จะเป็น อาหารสำหรับเด็กเล็กที่ยังไม่มีฟัน หรือนมแม่ก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยรุ่น เป็นต้น
สิ่งที่เด็กต้องการ สำหรับการพัฒนา สติปัญญา และความฉลาด คือ สิ่งแวดล้อม หรือการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรมีความรู้ ในการเลี้ยงดูเด็ก ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลเข้าไปสร้างเป็นโครงสร้างความรู้ในสมอง แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสม กับวัยของเด็กด้วย
ถึงแม้เราไม่สามารถบอกได้ว่า ความฉลาดอยู่ที่ส่วนใดของสมอง แต่สมองข้างซ้าย และ สมองข้างขวา ก็จะมีส่วนร่วมในการ ทำงานที่เกี่ยวกับ ความฉลาดด้วย สมองข้างซ้าย และสมองข้างขวา นอกจากจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และรับประสาทสัมผัส ความรู้สึกจากร่างกาย ด้านตรงข้ามแล้ว ยังมีหน้าที่แตกต่างกัน ในเรื่อง ของการเรียนรู้ด้วย

สมองข้างซ้าย จะมีหน้าที่ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีสามัญสำนึก การจัดระบบ การดูแลรายละเอียด และการทำงานที่จะต้องทำทีละอย่าง การควบคุมเกี่ยวกับ ภาษา ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ การแสดงออก (expression) การวิเคราะห์ การพูด การเขียน

ส่วนสมองข้างขวามีหน้าที่เกี่ยวกับ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ สัญชาตญาณ การสังเคราะห์ ศิลปะ ดนตรี และเรื่อง ของทิศทาง เป็นส่วนที่ค่อนข้างผ่อนคลาย เป็นสมองที่เป็นจิตใต้สำนึกมากกว่า ในขณะที่สมองข้างซ้ายเป็นส่วนที่อยู่ในจิตสำนึก สมองข้างขวา จะทำหน้าที่สร้าง กระบวนการต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว สามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับ สมองข้างซ้าย ที่จะทำได้ทีละอย่าง สมองข้างขวา จะมองภาพแบบรวม ๆ มากกว่า เจาะรายละเอียด เหมือนสมองข้างซ้าย สมองข้างขวา มีหน้าที่เกี่ยวกับ การรับรู้ เข้าใจ (reception) มากกว่า สมองข้างซ้าย ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การแสดงออก

อย่างไรก็ตาม การทำหน้าที่แต่ละอย่างสมองทั้งสองข้าง จะทำงานประสานกัน แต่สมองข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะทำงานมากกว่า อีกข้างหนึ่ง เช่น เมื่อได้ยินเสียงดนตรี และรู้ว่านี่คือ เสียงดนตรี จะเป็นหน้าที่ สมองข้างขวา แต่ความซาบซึ้งในเสียงเพลง สมองทั้งสองข้าง จะทำงานพร้อมกัน การทำงานของสมองสองข้างนี้ ยังแตกต่างกัน ในเรื่อง การหาความหมาย ของคำพูดมากกว่า ความหมายของเสียง จากสิ่งแวดล้อม จากการทดลองที่จะดูว่า เสียงที่เป็นคำพูด และเสียงที่ไม่เป็นคำพูด เช่น เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความแตกต่าง ของกระแสไฟฟ้าในสมอง พบว่า เสียงที่เป็นคำพูด ที่มีความหมาย จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า ในสมองข้างขวา มากกว่าสมองข้างซ้าย แต่ถ้าใช้เสียงจาก สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีความหมาย ก็พบว่ากระแสไฟฟ้าจะเกิดขึ้น ในสมองข้างซ้ายมากกว่า ในสมองข้างขวา